นโยบายและการให้บริการด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

ศูนย์ความเป็นเลิศการเรียนการสอนมีนโยบายการให้บริการด้านการจัดการศึกษา โดยมีภารกิจหลัก 2 ภารกิจดังนี้

ภารกิจที่ 1 : งานพัฒนาการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานสากล UKPSF

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพ นอกเหนือจาก หลักสูตรที่เปิดสอนแล้ว คุณภาพของอาจารย์ผู้สอนเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก มหาวิทยาลัยได้ปฏิรูปการเรียนการสอนโดยนำระบบการจัดการเรียนการสอนที่ได้มาตรฐานสากลและเป็นที่ นิยมใช้กันโดยทั่วไป คือมาตรฐานของ The United Kingdom Professional Standards Framework (UKPSF) ประเทศอังกฤษ มาใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยให้เป็นคณาจารย์มืออาชีพ ซึ่ง การจัดการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพ UKPSF เป็นการจัดการเรียนการสอนได้รับการยอมรับทั่ว โลก The Higher Education Academy (HEA) หรือ Advance HE ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระ ระดับชาติในสหราชอาณาจักร ได้พัฒนากรอบมาตรฐานวิชาชีพระดับอุดมศึกษา UKPSF เพื่อประเมินและ รับรองหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพการสอนของอาจารย์ และได้ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาจัดฝึกอบรมและประเมินคุณภาพการสอนและกำหนดวิทยฐานะของผู้ผ่านการประเมิน

ศูนย์ความเป็นเลิศการเรียนการสอน จัดกิจกรรมส่งเสริมให้อาจารย์พัฒนาการสอนอย่างต่อเนื่อง (A5: เข้าร่วมในการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องในด้านรายวิชา/สาขาวิชาและวิทยการการสอน การวิจัย ความเป็นนักวิชาการและการประเมินผลการปฏิบัติติทางวิชาชีพ UKPSF) ตลอดทั้งปี ได้แก่ การออกแบบการเรียน การสอน วิธีการสอนเชิงรุกเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะใน แล้วก็การคิดวิเคราะห์สังเคราะห์และทักษะในศตวรรษที่ 21 การให้คำแนะนำปรึกษากับผู้เรียนเป็นรายบุคคล การใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และ การประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน (formative assessment) เพื่อติดตามพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยมีการพัฒนาอาจารย์ตามแนวทางของการจัดการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานสากล UKPSF กล่าวคือ

1. ด้านการออกแบบการเรียนการสอน (A1: ออกแบบและวางแผนกิจกรรมการเรียนและ/หรือโปรแกรมการศึกษา : UKPSF)

ศูนย์ความเป็นเลิศการเรียนการสอนจัดอบรมการเขียน Course syllabus ตามกรอบมาตรฐานสากล UKPSF และ หลักการออกแบบ Outcome- Based Education : OBE) และตามหลักการ Constructive alignment

2. ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ (A2 สอนและ/หรือสนับสนุนการเรียนรู้ : UKPSF)

ศูนย์ความเป็นเลิศการเรียนการสอนสนับสนุนการพัฒนาอาจารย์ให้มีเทคนิคในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Centered) เช่น การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small group discussion) การใช้ กรณีศึกษา (Case Study Method) ใช้วิจัยเป็นฐาน (Research-Based Learning) ใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning) ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped classroom)ใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning :PBL) เทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) ใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ (Community-based Learning) เป็นต้น

3. ด้านการวัดและประเมินผล (A3: ประเมินและข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงกับผู้เรียน : UKPSF)

ศูนย์ความเป็นเลิศการเรียนการสอนสนับสนุนการพัฒนาอาจารย์ให้มีทักษะในการประเมินที่เน้นการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน (Formative assessment) การประเมินผลที่หลากหลายและการประเมินตามสภาพจริง (authentic assessment)

4. ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน (A4 : พัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลและวิธีการที่สนับสนุนนักศึกษาและการแนะแนว: UKPSF)

ศูนย์ความเป็นเลิศการเรียนการสอนสนับสนุนการพัฒนาอาจารย์ :
1. ให้ทุกรายวิชามี course site หรือ subject site ใน มคอ. 3 ต้องระบุสัปดาห์และชั่วโมง พร้อมทั้งกิจกรรมที่จะสอนอย่างละเอียด
2. ทุกรายวิชาจะต้องมี Subject/Course site ซึ่งอาจจะใช้ Platform ของ Moodle (WU e Learning) หรือ MS Teams หรือ Google Classroom ตามความเหมาะสม
3. องค์ประกอบพื้นฐานของ Subject/Course site ของรายวิชา จะต้องมีโครงสร้างและรายละเอียดการสอนที่ให้ผู้เรียนสามารถเรียนออนไลน์ และใช้ในการสื่อสารกับผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้
• ประกาศ ข่าวสารในการจัดการเรียนการสอน
• แนะนำวิชาและผู้สอน
• ประมวลรายวิชาและแผนการสอน หรือเอกสารรายละเอียดรายวิชา (มคอ. 3)
• กำหนดรายละเอียดหัวข้อที่จะสอนในแต่ละสัปดาห์
• การทดสอบก่อน (Pre-test) และหลังเรียน (Post-test)
• เอกสารประกอบการสอนและสื่อประกอบการเรียนรู้ประเภทต่าง ๆ
• กิจกรรมประเมินการเรียนรู้แบบ Formative Assessment
• กิจกรรมกระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Discussion Forum/Board) เพื่อติดตามผลการเรียนรู้ (Formative Assessment) ทั้งนี้จะต้องมีการตรวจสอบการสร้าง Subject/Course site และความถูกต้องครบถ้วนขององค์ประกอบของการสอนแบบออนไลน์ของรายวิชา โดยคณะกรรมกรรมการประจำสำนักวิชา
4. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์กำหนดให้คณาจารย์ทุกคนจะต้องผ่านการอบรมกรอบมาตรฐานสากล UKPSF ก่อนทำการสอน และสนับสนุนการขอการรับรองการสอนภายใต้กรอบ UKPSF โดยศูนย์ความเป็นเลิศการเรียนการสอนจัดกิจกรรมให้ความรู้กับคณาจารย์ใหม่ในการจัดการเรียนการสอนผ่านโครงการ Pre-UKPSF รวมทั้งสนับสนุนการให้คำแนะนำปรึกษาในการเขียน application เพื่อขอรับรองกรอบมาตรฐานสากล UKPSF เพื่อแสดงถึงการเป็นผู้สอนมืออาชีพ รวมสนับสนุนในการทำวิจัยทางด้านการเรียนการสอนของอาจารย์
5. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (knowledge management) ให้กับคณาจารย์ในการพัฒนาการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ภารกิจที่ 2 : งานจัดทำและพัฒนาหลักสูตรสมัยใหม่

(1) กำหนดหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบหลักสูตรใหม่และหลักสูตรปรับปรุงให้มีความถูกต้องและเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
• มีการจัดทำ Template เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยในการตรวจสอบความถูกต้องและ guideline การพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตรตามหลักการของ Outcome-based Education และสอดคล้องกับกฎกระทรวงใหม่ ปี พ.ศ. 2565

(2) สร้างความเข้าใจให้กับสำนักวิชาด้านการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรและคุณภาพบัณฑิต
• จัดกิจกรรมพัฒนาอาจารย์ด้านการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรตามหลักการ Outcome based education และการรวบรวมความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) เพื่อให้สอดคล้องกับการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย
• สนับสนุนพัฒนาหลักสูตรให้มีความโดดเด่น สอดคล้องกับความต้องการของสังคมในยุคหลังโควิด โดยเน้นประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล
• สนับสนุนการจัดทำหลักสูตรเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนนักศึกษากับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ
• สนับสนุนการพัฒนาหลักสูตร Upskill และ reskill ร่วมกับผู้ประกอบการเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการตลาดแรงงาน

(3) นำเสนอ ติดตามการรับทราบ และรับรองคุณวุฒิของหลักสูตรจากหน่วยงานภายนอกอย่างต่อเนื่อง

Top