ศึกษาดูงานโครงการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานฯActive Learning

รายงานการศึกษาดูงานโครงการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการพัฒนาการเรียนรู้สู่

Active Learning มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

           ตามที่คณะทำงานโครงการพัฒนาการเรียนรู้สุ่ Active Learning จัดโครงการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานฯ  โดยเป็นลักษณะการศึกษาดูงานด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ณ มหาวิทยาลัยศรีปทุม สถาบันอาศรมศิลป์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เมื่อวันที่ 27 - 28 กันยายน 2555 ที่ผ่านมา โดยที่ประชุมร่วมกันสรุปประเด็นที่ได้เรียนรู้จากทั้ง 3 สถาบัน 

สรุปข้อคิดเห็นสิ่งที่ได้จากการศึกษาดูงาน มหาวิทยาลัยศรีปทุม

          ได้รับการต้อนรับจาก ดร.สิรินธร  สินจินดาวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน โดยชม DVD แนะนำมหาวิทยาลัยที่ห้อง Theater ชั้น 3 สำนักหอสมุด

  1. 1. หอสมุดกลาง แนะนำข้อมูลทั่วไปโดยรองผู้อำนวยการสำนักหอสมุด
  • 1) มีการจัดโซนหนังสือและตำราตามกลุ่มสาขาวิชาที่สัมพันธ์กันทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงของนักศึกษา
  • 2) หนังสือของคณะนิติศาสตร์มีการจัดเก็บไว้บนชั้นโดยไม่มีการคัดออก
  • 3) มีเฟอร์นิเจอร์ที่เน้นสีสัน ทำให้ส่งเสริมการเรียนรู้
  • 4) ระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีโดยใช้บัตร smartcard กับนักศึกษาทุกคน
  • 5) นักศึกษาสามารถสั่งซื้อหนังสือโดยใช้ระบบออนไลน์
  • 6) การควบคุมทางสำนักหอสมุด มีทางเข้า – ออก 3 ทางเพื่อเอื้อต่อการเข้าใช้บริการ เพิ่มความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
  1. 2. การจัดห้องเรียนสำหรับนักศึกษาอยู่ในตึกเดียวกันกับหอสมุด
  • 1) ห้องเรียนกลุ่มย่อยสำหรับนักศึกษาปริญญาโท
  • 2) ห้องทำงาน
  • 3) มีห้องอาหารและพักผ่อนในบริเวณเดียวกัน
  • 4) มีความหลากหลายรูปแบบที่พร้อมต่อการจัดการเรียนการสอน
  • 5) มีห้องเรียนบรรยายและสามารถปรับใช้เป็นห้องประชุมกลุ่มย่อยได้
  • 6) ห้องเรียนสามารถปรับใช้ได้ตามความต้องการของผู้ใช้
  • 7) มีบอร์ดกระจกเพื่อใช้เป็นกระดานติดรอบห้อง
  1. 3. แนะนำผลงานคณะดิจิทัลมีเดีย โดยอาจารย์วรากร  ใช้เทียมวงศ์ หัวหน้าสาขาดิจิตัลอาร์ต ซึ่งทางคณะดิจิทัลมีเดียมีหลักสูตร 5 หลักสูตรดังนี้
  1. 1. สาขาวิชาดิจิทัลอาร์ตส์ (Digital Arts) ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในรูปแบบจิตรกรรม ประติมากรรมและ ภาพเคลื่อนไหว ด้วยสื่อดิจิทัล โดยใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องมือในโปรแกรมต่างๆ เช่น  การวาดรูปแบบ Digital Paint  การปั้นโมเดลแบบ 3 มิติ (3D Sculpture)  และการวาดภาพประกอบ(Illustration) เป็นต้น
  2. 2. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์แอนิเมชัน (Computer Animation) ศึกษาเกี่ยวกับการขั้นตอนการทำงานการผลิตแอนิเมชันด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งในรูปแบบ 3 มิติและ 2 มิติ  เช่น การสร้างเรื่องราว การออกแบบตัวละครและฉาก  การเขียนสตอรี่บอร์ด การผลิตแอนิเมชันด้วยการใช้โปรแกรม3 มิติและ 2 มิติ  และการตัดต่อ เป็นต้น
  3. 3. สาขาวิชาการออกแบบอินเทอร์แอคทีฟและเกม (Interactive and Game Design)แบ่งเป็น 2 กลุ่มวิชาชีพเลือก ได้แก่
  • กลุ่มวิชาชีพเลือกอินเทอร์แอคทีฟ  ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบสื่อในรูปแบบดิจิทัลที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ซึ่งต้องมีการประยุกต์ใช้การเขียนโปรแกรมสำหรับการออกแบบมัลติมีเดียเพื่อใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน เช่น เว็บไซต์ CD สื่อการเรียนการสอน รวมถึงมัลติมีเดียที่ใช้ในงานนิทรรศการและพิพิธภัณฑ์แบบอินเทอร์แอคทีฟ เช่นมิวเซียมสยาม เป็นต้น
  • กลุ่มวิชาชีพเลือกเกม เรียนเกี่ยวกับการออกแบบเกมและการออกแบบกราฟิกสำหรับใช้ในเกมทั้งรูปแบบ 2 มิติและ 3 มิติ เช่น การออกแบบฉากและตัวละคร การออกแบบด่าน (Level Design) และการออกแบบวิธีการเล่นเกม เป็นต้น
  1. 4. สาขาวิชาวิชวลเอฟเฟกต์ (Visual Effects) ศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างเทคนิคพิเศษด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานภาพยนตร์และงานโฆษณา  เช่น การสร้างหมอก ควัน ฝุ่น ไฟ ระเบิด การจำลองเหตุการณ์ทางภัยธรรมชาติ และการสร้างภาพตัวละครจำลอง เป็นต้น
  2. 5. สาขาวิชาการออกแบบกราฟิก (Graphic Design) ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบงานกราฟิกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการสื่อสารและการโฆษณาประชาสัมพันธ์ทั้งในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิทัล  ได้แก่ การออกแบบโปสเตอร์  การออกแบบโลโก้ การออกแบบภาพลักษณ์สำหรับองค์กรการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design) และการออกแบบกราฟิกสำหรับเว็บไซต์ เป็นต้น หลังจากนั้นนำเสนอผลงานของนักศึกษา เน้นให้นักศึกษาสร้างผลงานและใช้ผลงานของนักศึกษาเป็นตัวขับเคลื่อน ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย และเน้นให้นักศึกษามีสุนทรียะ มีจินตนาการ และจัด learning space เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความคิดสร้างสรรค์
  1. 4. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากอาจารย์ที่ได้รับรางวัล The Best Teaching Award คือ อาจารย์รัฐสภา  แก่นแก้ว ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์มีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • 1) มีหัวใจความเป็นครู
  • 2) รู้จักผู้เรียนของตนเองอย่างดี เข้าใจธรรมชาติของการเป็นครูและเข้าใจเด็ก
  • 3) ใช้สื่อหลากหลายประกอบการเรียนการสอน มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนตลอดเวลา เช่น Facebook /  e-learning
  • 4) ออกแบบการเรียนการสอนน่าสนใจ กระตุ้นให้นักศึกษาตื่นตัวตลอดเวลา
  • 5) มีการประเมินผลที่หลากหลาย
  • 6) ใช้รูปแบบการสอนโดย work-based learning เน้นให้นักศึกษาปฏิบัติจริง
  • 7) จัดสรรเวลาที่นักศึกษาสามารถติดต่อกับอาจารย์ โดยใช้ช่วงเวลา 07.30 – 08.30 น. และช่วงเวลา 18.00 – 19.00 น.

ภาพบรรยากาศสภาพแวดล้อม

          จากนั้นคณะศึกษาดูงานมีโอกาสเยี่ยมชมสภาพแวดล้อมการจัดการเรียนการสอน ชั้น 12A สำนักหอสมุด ซึ่งได้จัดเป็นห้องเรียนกลุ่มย่อยใช้สำหรับการเรียนการสอนของนักศึกษา

 

 

 

 

 

สรุปข้อคิดเห็นสิ่งที่ได้จากการศึกษาดูงาน สถาบันอาศรมศิลป์

          ได้รับการต้อนรับโดย อาจารย์ ประยงค์ โพธิศรีประเสริฐ อาจารย์ประจำหลักสูตรสถาปัตยกรรม
ศาสตรมหาบัณฑิต   และรองศาสตราจารย์ ประภาภัทร  นิยม รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการสถาบันอาศรมศิลป์ จากนั้นคณะศึกษาดูงานมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยสรุปข้อคิดเห็นสิ่งที่ได้จากการศึกษาดูงาน สถาบันอาศรมศิลป์ดังนี้

  • 1. แนวคิดวิถีชีวิตและวิถีพุทธที่นำมาปรับใช้กับการเรียนการสอนอย่างเข้มแข็ง เน้นให้นักศึกษาทำทุกอย่างด้วยตนเอง เช่น กวาดขยะ ล้างจาน ล้างห้องน้ำ ฯ
  • 2. เน้นรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Work-based Learning
  • 3. Holistic approach (องค์รวม – พัฒนาผู้เรียนไปทุกด้าน)
  • 4. วัฒนธรรมองค์กรเข้มแข็ง เน้น  Meta skills (deep listening/ สวดมนต์/ ปฏิบัติธรรม reflection/ KM /Peer coaching  และเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ใช้กระบวนการแก้ปัญหาร่วมกันโดยการรับฟังซึ่งกันและกัน และเชื่อว่าปัญหาทุกปัญหามีทางออกที่เกิดจากกระบวนการจัดการตัวเองอย่างสมดุลย์ (Balanced Self Organizing)
  • 5. การสร้างคนให้เป็น Change agent
  • 6. กำหนด Road map ด้านการจัดการเรียนการสอนไว้อย่างชัดเจน
  • 7. การคัดเลือกอาจารย์มีความพิถีพิถัน โดยให้ความสำคัญกับแนวคิดและภูมิหลังว่ามีความเชื่อในวิถีของสถาบันอาศรมศิลป์
  • 8. กระบวนการพัฒนาอาจารย์ จะมีการประชุมกันอย่างสม่ำเสมอ (ใช้ meta skills) ใช้หลักการใช้ชีวิตรวมหมู่ สังฆะ สามเหลี่ยมความสัมพันธ์ (การคิดและแก้ไขปัญหานั้น โดยเอาประสบการณ์ของแต่ละคนมาหาทางออกร่วมกัน มองทางบวก มีการฝึก) กระจกสี่ด้าน
  • 9. เน้นการทำงานเป็นทีม
  • 10. มีจริยศิลป์ เครื่องสะท้อนย้อนเข้าตนเอง
  • 11. บรรยากาศ (learning environment) สภาพแวดล้อมทางกายภาพส่งเสริมปรัชญาและแนวคิดของสถาบันอาศรมศิลป์ มีความเรียบง่าย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความเป็นธรรมชาติ และใช้ผลงานศิลปะตกแต่ง เน้นให้รู้สึกว่าเหมือนบ้านหลังที่สอง
  • 12. การพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานโดยเน้นให้เป็นคนที่สมบูรณ์ มีความสามารถในการพัฒนาตนเอง เช่น พนักงานธุรการสามารถเป็นวิทยากรได้โดยพัฒนาจากการทำงานจริง (on the job training)
  • 13. การจัดระบบการศึกษา เน้นคุณภาพ โดยมีการจัดหลักสูตรที่ใช้จริงมีการบูรณาการหลอมรวมรายวิชาของหลักสูตร และใช้ลักษณะ Work-based learning (Project-based learning  Area-based  inquiry) โดยนำปัญหาจริงจากชุมชนมาแก้ไข และเน้นเรื่องจิตอาสาของบัณฑิตโดยผ่านการทำงานแบบโครงการและเน้นการมีส่วนร่วม  Peer coaching  
  • 14. จัดการเรียนรู้ Active Learning แบบเน้น inside-out โดยการเรียนรู้เกิดจากความรู้ภายใน สามารถที่จะคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ใคร่ครวญ จนเกิดปัญญาเพื่อนำไปใช้และแก้ปัญหาได้จริง และหลังการเรียนการสอนจะมีการทำ KM โดยมีผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมานำเสวนา ทั้งอาจารย์และนักศึกษาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปพร้อมกัน
  • 15. จำนวนของอาจารย์และนักศึกษาแต่ละชั้นเรียนอยู่ในสัดส่วนที่เท่ากัน
  • 16. การประเมินผล จะดูที่การเปลี่ยนแปลงจากผลลัพธ์ของการปฏิบัติ (performance) ผลลัพธ์สุดท้ายคือให้ความสำคัญกับคุณภาพของวิทยานิพนธ์ การประเมินตนเองและการประเมินจากอาจารย์
  • 17. ในการจัดหลักสูตรไม่ได้นำเงื่อนไขด้านเวลามาเป็นข้อจำกัดในการแบ่งภาคการศึกษาแต่ใช้การจัดการเรียนการสอนแบบ Block system ที่เป็น module ย่อยๆ
  • 18. สถาบันเป็นสถาบันเอกชนในรูปแบบมูลนิธิที่ไม่แสวงหาผลกำไร Non-profit organization โดย CSR (Corporate Social Responsibility)
  • 19. Operating system เป็นวิธีการทำงานของสถาบันโดยมีลักษณะ KM
  •  ภาพบรรยากาศสภาพแวดล้อม

     

     

     

     

    สรุปข้อคิดเห็นสิ่งที่ได้จากการศึกษาดูงาน มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี

              ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต ทิพากร รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาการศึกษา : นำเสนอนโยบายเกี่ยวกับแผนพัฒนาการศึกษาของมหาวิทยาลัย รวมทั้งการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ที่มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรีกำลังดำเนินการอยู่โดย เน้นคุณภาพการศึกษาที่เปลี่ยนทั้งระบบ แก้ทั้งกระบวน ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษา โดยเริ่มต้นการนำแนวคิด Constructivism เข้ามาปรับใช้ และต้องบ่มเพาะอุปนิสัยและทัศนะการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพเพื่อพัฒนาตนเองสู่การเป็นผู้นำในศตวรรษที่ 21 (Social change agents) และเน้น outcome-based education (OBE) เปลี่ยนทั้งระบบ โดยมีการสร้าง learning space ให้สอดคล้องและตอบสนองต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาในยุคนี้ ปรับหลักสูตรศึกษาทั่วไป ปรับอาจารย์โดยมีหลักสูตรบ่มเพาะ 6 เดือน และพัฒนา ปรับเปลี่ยนทัศนคติของอาจารย์ให้มีความรู้สึกว่าต้องเป็นเลิศในการสอน รวมทั้งปรับเปลี่ยนผลงานวิชาการด้วย 

    ตัวอย่างการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบ Active learning คือ โครงการห้องเรียนรู้ Flipped classroom โดยมีแนวคิดว่า ความรู้อยู่รอบตัว สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ดังนั้นในห้องเรียนนี้จะมีพื้นที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ลงมือปฏิบัติ อภิปราย ทำให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ มีการจัดกิจกรรมต่างๆ ห้องเรียนลักษณะนี้ต้องตอบสนองต่อกิจกรรมการเรียนรู้ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การจัดกลุ่มย่อยในห้องใหญ่  การจับคู่  การใช้เครื่องมือสื่อสารสมัยใหม่ การติว ฯลฯ ดังนั้นเป้าหมายของ Flipped classroom เพื่อต้องการตอบสนองและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และจะประสบผลสำเร็จได้นั้น ผู้สอนต้องออกแบบการเรียนรู้และผู้เรียนต้องไปเตรียมพร้อมของตนเองด้านองค์ความรู้ที่จะนำแลกเปลี่ยน อภิปรายร่วมกัน ซึ่งแนวคิดนี้จะสำเร็จผลได้ดีนั้น มหาวิทยาลัยต้องสนับสนุนการออกแบบ learning space outside classroom และสื่อการเรียนรู้ เช่น การพัฒนาระบบ e-learning  วิดีโอการสอน ให้มีคุณภาพและเหมาะสม การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีความน่าสนใจ ยืดหยุ่นปรับใหม่ได้ตลอดเวลา รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของผู้สอนและผู้เรียน โดยการปรับเปลี่ยนบทบาทของอาจารย์ผู้สอนจากผู้บรรยายความรู้ (lecturer) มาเป็นอาจารย์ผู้ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ (Facilitator)

    มีการนำเสนอภาพรวมของการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาศึกษาทั่วไป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิธร  สุวรรณเทพ ซึ่งยกตัวอย่างจากวิชา GEN 231: Miracle of Thinking โดย อาจารย์วรงค์  ถาวระ ซึ่งมีรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในการพัฒนาหลักสูตรศึกษาทั่วไป เน้นให้นักศึกษาหลากหลายสาขาวิชามาเรียนร่วมกัน ทำงานร่วมกัน และอาจารย์ประจำกลุ่มมาจากสาขาวิชาต่างๆ เน้นสิ่งเร้าที่น่าสนใจต่อการเรียนรู้ และเป้าหมายของ GE คือ การพัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์ (Humanization) และการเรียนรู้ตลอดชีวิต (life-long learning) และเน้น hands on learning เน้นการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับผู้เรียน Generation Y
              การประเมินผล เน้นที่กระบวนการและวิธีคิดของนักศึกษา โดยการสังเกต ไม่มีการสอบกลางภาค ปลายภาค สอบโดยการทำกิจกรรม การจัดแสดงนิทรรศการ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมนอกห้องเรียน (Unobtrusive event)

    จากนั้นคณะศึกษาดูงานได้เดินทางไปเยี่ยมชม สำนักหอสมุด เพื่อดูการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักศึกษา สิ่งสำคัญที่ค้นพบคือ การจัดห้องสมุดที่กว้างขวาง มีแสงสว่างมากพอ ไม่มืดทึบ ลักษณะเด่นของห้องสมุดคือการจัดห้องสมุดตามแนวคิดหลัก ของมหาวิทยาลัย ตามหลัก KEEN  ได้แก่ KMUTT Learning Tools: สร้างสรรค์ พัฒนาเครื่องมือนวัตกรรมการเรียนรู้ของ มจธ.

    Encourage Learning: ผลักดันการเรียนรู้ในประชาคม มจธ.          

    Excellency Development: พัฒนาสู่ความเป็นเลิศด้านการเรียนรู้

    Networking: ส่งเสริม/พัฒนาเครือข่ายพันธมิตรการเรียนรู้ทั้งในและนอกประชาคม มจธ.

    • เน้นให้ห้องสมุดเป็นสถานที่เรียนรู้แบบ active learning เช่น จัดพื้นที่นั่งประชุมกลุ่มย่อย โดยให้ glass board ที่สามารถใช้เขียนเพื่อการติว การเรียนกลุ่มย่อย มีห้องติวเป็นห้องกระจกใสที่สามารถบันทึกภาพและถ่ายทอดให้ผู้อื่นรับรู้ได้ มีห้องให้คำปรึกษารายบุคคลและห้องสำหรับการนั่งอ่านที่ต้องการใช้ความเงียบเป็นส่วนตัวเป็นต้น
    • จัดมุมขายอาหารว่าง มีโต๊ะเปียนโนที่สามารถเล่นเปียนโนได้ เป็นต้น

      และมีหอบรรณสารสนเทศที่รวบรวมพระราชประวัติของรัชกาลที่ 4 รวมทั้งความเป็นมาของมหาวิทยาลัย หลังจากนั้นคณะศึกษาดูงานได้ร่วมสังเกตการณ์การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ในชั้นเรียน รายวิชา GEN241: Beauty of Lift โดย อาจารย์สุทธิพงษ์  เรืองจันทร์ ซึ่งได้มีการพูดคุยซักถามเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ทางคณะศึกษาดูงานสามารถนำไปปรับใช้ได้ต่อไป

    ภาพบรรยากาศสภาพแวดล้อม

     

     

     

     

     

     

     

    [1431] [17 พ.ย. 2558]

ข่าวเด่น

ศึกษาดูงานโครงการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานฯActive Learning
เสวนาการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
วีดิทัศน์ PBL 7 steps
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กำหนดจัดงานประชุมวิชาการ การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) "นวัตกรรมการเรียนรู้"
อบรม PBL สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ 8 พ.ย. 2560
อบรม PBL สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ 28 พ.ย. 2561
PBL Practice/Hormones
การประชุมวิชาการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning : Challenges and Innovations วันที่ 5-6 สิงหาคม 2559
เชิญชมเทปบันทึกการบรรยายพิเศษหัวข้อ Good Practices in Active Learning
เชิญชวนคณาจารย์ร่วมอบรมการใช้งานคลิกเกอร์ (Clicker)
ประกาศทุนพัฒนาวิจัยในชั้นเรียนหรือวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เชิงรุก ปีงบประมาณ 2558 (ภายใน)
การเรียนรู้ในรั้วแสด-ม่วง
คำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ
รายวิชา HUM-103 ตัวตนและสังคม สำนักวิชาศิลปศาสตร์
สรุปโครงการสัมมนาคณะทำงานพัฒนาการเรียนรู้เชิงรุก
Top