รายละเอียดการดำเนินการปรับปรุง/เปิดหลักสูตร

บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์ (หลักสูตรปรับปรุง ปีการศึกษา 2567)

รหัสหลักสูตร 25620231100627
ชื่อหลักสูตร ภาษาไทย : บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์ (หลักสูตรปรับปรุง ปีการศึกษา 2567)
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration Program in Digital Marketing and Branding (Revised B.E.2024)
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา ชื่อเต็ม(ภาษาไทย) : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์)
ชื่อย่อ(ภาษาไทย) : บธ.บ. (การตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์)

ชื่อเต็ม(ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Business Administration (Digital Marketing and Branding)
ชื่อย่อ(ภาษาอังกฤษ) : B.B.A. (Digital Marketing and Branding)
เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 2565
ปรับปรุงมาจาก บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)
แนวทางในการประกอบวิชาชีพ

อาชีพ

ลักษณะงาน (Job Description)

1. อาชีพทางด้าน Digital Marketing

 - นักการตลาดออนไลน์ (Digital Marketing Officer)

- เจ้าหน้าที่ฝ่ายโฆษณาออนไลน์ (Advertising Officer)

- นักการตลาดเนื้อหา/ SEO (Content Marketing Officer/ SEO Officer)

-นักวิเคราะห์การตลาดออนไลน์ (Online-Market Research Analyst)

-นักการตลาดโซเชียลมีเดีย (Social Media Marketing Officer)

-นักบริการลูกค้าออนไลน์ (Online Customer Service Representative)

- ตัวแทนขายออนไลน์มืออาชีพ (Professional Online Sales Representative)

1. วางแผน บริหารจัดการสื่อช่องทางออนไลน์ของบริษัท โดยการใช้สื่อออนไลน์สมัยใหม่ ในการเผยแพร่ เนื้อหา ทั้งภาพ วิดีโอ และบทความให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย         

2. นำเสนอโปรโมชั่นสำหรับการตลาดทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ได้ Event หรือ แคมเปญ  และกิจกรรมออนไลน์ต่างๆ

3. ทำให้เกิดการรับรู้ต่อแบรนด์ (Brand Awareness), เกิดการใช้งาน (Traffic), การมีส่วนร่วม (Engagement), การโน้มน้าวลูกค้า (Leads) เพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มยอดขายและรักษาฐานลูกค้า

4. นำเสนอความคิดสร้างสรรค์ สำหรับสื่อออนไลน์ สามารถอธิบาย และกระจายงานสำหรับการทำสื่อ และ ประสานงานแผนกอื่นๆ เพื่อคิดและจัดทำสื่อโฆษณาออนไลน์ต่างๆ

 5. วัดผลและรายงานประสิทธิภาพของแคมเปญการตลาดดิจิทัลทั้งหมด และประเมินตามเป้าหมาย

6. ซื้อโฆษณาออนไลน์ ควบคุมและดูแล โฆษณาออนไลน์สำหรับแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ เช่น Facebook Ads,Google Ads

7. วางแผนและใช้งบประมาณให้เหมาะสม ในการพัฒนาแผนการตลาดออนไลน์ เพื่อส่งเสริมยอดขายให้เติบโต รวมไปถึงวางแผนโฆษณาเพื่อสื่อไอเดีย สินค้าหรือบริการต่าง ๆ  และซื้อสื่อเพื่อให้ได้พื้นที่ทำโฆษณา 

2. อาชีพทางด้าน Branding

 - นักสร้างแบรนด์ (Brand Designer)

- ผู้จัดการแบรนด์ (Brand Manager)

 - นักสร้างสรรค์คอนเทนต์ (Content Creator) 

 - นักสร้างกลยุทธ์และบริหารติดตามแบรนด์ (Brand Strategist)

- นักการตลาดและการสื่อสารแบรนด์ (Marketing and Brand Communications Specialist)

- นักสร้างสรรค์แบรนด์ (Brand Creative Officer)

1. เป็นอาชีพที่มุ่งเน้นในการสร้างและออกแบบแบรนด์ผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อสร้างการรับรู้ การรู้จัก และเป็นที่จดจำในกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ รวมทั้งการพัฒนาและบริหารจัดการแบรนด์ให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร งานของผู้บริหารแบรนด์รวมถึงการวางแผนกลยุทธ์การตลาด การจัดการโฆษณา การเพิ่มการรับรู้และความนิยมของแบรนด์ และการดูแลและสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า

2. งานของผู้สร้างแบรนด์รวมถึงการออกแบบสื่ออัตลักษณ์แบรนด์ โลโก้ พื้นหลังแบรนด์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้า การออกแบบเว็บไซต์ และสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบรนด์

3. อาชีพทางด้านนักพัฒนาธุรกิจ (Business Development)

ความเป็นผู้ประกอบการและธุรกิจ Start up

-นักพัฒนาธุรกิจ (Business Development Officer)

- นักให้คำปรึกษาธุรกิจออนไลน์ (Online Business Consultant)

- นักพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจ (Strategic Planning)

-นักวิเคราะห์การแข่งขันของธุรกิจ (Competitive Analysis)

 - นักการขายและการสร้างรายได้ (Sales and Revenue Generation)

- นักจัดการโครงการ/อีเว้นท์  (Project/Event Manager)

- นักพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาดออนไลน์ (Product Online-marketing)

1. พัฒนากลยุทธ์การสื่อสารและทำงานเกี่ยวกับการสร้าง

แบรนด์ให้กับบริษัท

2. พัฒนากลยุทธ์การขายและการพัฒนาธุรกิจที่แข่งขันได้ซึ่งคาดการณ์การกระทำของคู่แข่งและวางทิศทางการขายให้ดีที่สุดในตลาดเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ของลูกค้า

3. สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับคู่ค้า ผู้ขาย และลูกค้า

4. ประเมินกลยุทธ์ กระบวนการพัฒนาธุรกิจ และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการพัฒนาธุรกิจ

5. ส่งเสริมบริการและผลิตภัณฑ์ของทุกหน่วยงาน และประสานงานการขายกับฝ่ายขายอื่นๆ

6. เจรจาและรับผิดชอบต่อสัญญา ด้านการพัฒนาสินค้าและบริการ และช่องทางในการลงทุน เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจ

 

ปีที่สภามวล. อนุมัติ 2566
ภาค/ปีที่เปิดสอน 1/2567
ปี ที่ต้องประเมิน/ปรับปรุงให้แล้วเสร็จ 2571
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
รายชื่อผู้รับผิดชอบหลักสูตร (ตามเล่มรายละเอียดของหลักสูตร) รายชื่อผู้รับผิดชอบหลักสูตร (ล่าสุด)

1. รศ.ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
2. ผศ.วาลุกา เอมเอก
3. อาจารย์วชรวรรษ พรหมมา
4. อาจารย์ชัยชนะ อัมพรกลิ่นแก้ว
5. Mr.Kim Long

1. รศ.ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
2. ผศ.วาลุกา เอมเอก
3. อาจารย์วชรวรรษ พรหมมา
4. อาจารย์ชัยชนะ อัมพรกลิ่นแก้ว
5. Mr.Kim Long

รายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร
รายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร (ตามเล่มรายละเอียดของหลักสูตร) รายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร (ล่าสุด)

1. รศ.ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
2. ผศ.วาลุกา เอมเอก
3. อาจารย์วชรวรรษ พรหมมา
4. อาจารย์ชัยชนะ อัมพรกลิ่นแก้ว
5. Mr.Kim Long
6. ผศ.ดร.พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์
7. ผศ.ดร.พนิดา แช่มช้าง
8. ผศ.บุณฑรี จันทร์กลับ
9. อาจารย์ ดร.กัญญนิจ วิเชียรรัตน์
10. อาจารย์สุพิชา วิไลศรี
11. อาจารย์ทรงพันธุ์ จันทร์ทอง
12. อาจารย์อลิศรา สระโมฬี

1. รศ.ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
2. ผศ.วาลุกา เอมเอก
3. อาจารย์วชรวรรษ พรหมมา
4. อาจารย์ชัยชนะ อัมพรกลิ่นแก้ว
5. Mr.Kim Long
6. ผศ.ดร.พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์
7. ผศ.ดร.พนิดา แช่มช้าง
8. ผศ.บุณฑรี จันทร์กลับ
9. อาจารย์ ดร.กัญญนิจ วิเชียรรัตน์
10. อาจารย์สุพิชา วิไลศรี
11. อาจารย์ทรงพันธุ์ จันทร์ทอง
12. อาจารย์อลิศรา สระโมฬี

การพิจารณาโดยคณะกรรมการประจำสำนักวิชา ประชุมครั้งที่/ปี : 10/2566 วันที่ : 30 กันยายน 2566
การพิจารณาโดยคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ประชุมครั้งที่/ปี : -
การพิจารณาโดยคณะกรรมการสภาวิชาการ ประชุมครั้งที่/ปี : 10/2566 วันที่ : 25 ตุลาคม 2566
การพิจารณาโดยคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ประชุมครั้งที่/ปี : 10/2566 วันที่ : 11 พฤศจิกายน 2566
การรับรองคุณวุฒิจาก สป.อว. วันที่เริ่มกระบวนการปัจจุบัน : 31 ธันวาคม 2566
วันที่ครบกำหนดรับทราบ : 15 มกราคม 2567
รายละเอียดการปรับปรุง/แก้ไขหลักสูตรระหว่างการรับทราบหลักสูตรจาก สป.อว.
1. A1/1 หัวหน้าฝ่ายกำลังตรวจสอบ เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2567
สถานะการพิจาณาโดย สป.อว. : A1/1 หัวหน้าฝ่ายกำลังตรวจสอบ เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2567
การรับรองคุณวุฒิจาก กคศ.
การรับรองคุณวุฒิจาก กพ.
แบบรายงานการพิจารณาอนุมัติหลักสูตร

หมายเหตุ สถานะการพิจาณาโดย สป.อว.
1. W=รอส่งจากสำนักวิชา
2. W1=ส่งไประดับมหาวิทยาลัย
3. S/ครั้งที่(Date) = ส่งไป สป.อว. แล้ว (เมื่อวันที่)
4. E/ครั้งที่(date) = ส่งให้มหาวิทยาลัยแก้ไข
5. A1/ครั้งที่(date) = หัวหน้าฝ่าย (ตรวจสอบ)
6. A2/ครั้งที่(date) = ผู้อำนวยการกลุ่ม (ตรวจสอบ)
7. A3/ครั้งที่(date) = ผู้อำนวยการสำนัก (ตรวจสอบ)
8. A4/ครั้งที่(date) = รองเลขาธิการ (ตรวจสอบ)
9. P/1 = พิจารณาความสอดคล้องและออกรหัสหลักสูตรเรียบร้อยแล้ว
Top