รายละเอียดการดำเนินการปรับปรุง/เปิดหลักสูตร

บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการโลจิสติกส์ (หลักสูตรปรับปรุง ปีการศึกษา 2567)

รหัสหลักสูตร 25620231100625
ชื่อหลักสูตร ภาษาไทย : บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการโลจิสติกส์ (หลักสูตรปรับปรุง ปีการศึกษา 2567)
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration Program in Logistics Management (Revised B.E.2024)
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา ชื่อเต็ม(ภาษาไทย) : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์)
ชื่อย่อ(ภาษาไทย) : บธ.บ. (การจัดการโลจิสติกส์)

ชื่อเต็ม(ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Business Administration(Logistics Management)
ชื่อย่อ(ภาษาอังกฤษ) : B.B.A.(Logistics Management)
เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 2565
ปรับปรุงมาจาก บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการโลจิสติกส์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)
แนวทางในการประกอบวิชาชีพ

อาชีพ

ลักษณะงาน (Job Description)

1. นักวิเคราะห์และวางแผน

โลจิสติกส์

1)      วางแผนกลยุทธ์การดำเนินงานด้านโลจิสติกส์: รูปแบบกิจกรรม การสื่อสาร การวางแผนงบประมาณ การประเมินประสิทธิภาพ

2)      วางแผนอุปสงค์และอุทาน วางแผนและควบคุมด้านงบประมาณ ติดตามผลและประสานงานระหว่างองค์กร

3)      ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และการจัดทำรายงานเพื่อประเมินและปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงในกิจกรรมโลจิสติกส์

2. พนักงานแผนกจัดส่ง

หรือ พนักงานวางแผนการขนส่ง หรือพนักงานขนส่งและกระจายสินค้า

1)      วางแผนการขนส่งสินค้า หรือจัดการขนส่งสินค้าทางถนนด้วยเทคโนโลยี

2)      ติดตามควบคุมยานพาหนะและพนักงานขับรถในการขนส่งสินค้าทางถนนอย่างปลอดภัย

3)      ควบคุมพนักงานขับรถเพื่อการขับขี่ประหยัดพลังงานในการขนส่งสินค้า

4)      กำหนดกระบวนการปฏิบัติงานตามกฎหมายและระเบียบการขนส่งสินค้า และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง

5)      กำหนดกระบวนการปฏิบัติงานตามกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงาน และกำหนดกระบวนการปฏิบัติงานตามกฎหมายแรงงาน

3. พนักงานตรวจสอบสินค้าคงคลัง หรือพนักงานควบคุมสินค้าคงคลัง

1)      วางแผนการรับสินค้า และการจ่ายสินค้าออกจากคลังสินค้า

2)      จัดการอำนวยความสะดวกในการรับส่งสินค้า

3)      รวบรวมสถิติ และวิเคราะห์ข้อมูลสินค้าคงคลัง เพื่อตรวจสอบระดับการถือครองสินค้าคงคลัง และการสำรองสินค้า

4)      การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ

4. พนักงานจัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง

1)      รวบรวมความต้องการใช้สินค้าบริการ และรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำประวัติการใช้สินค้า บริการ

2)      จัดหมวดหมู่เพื่อกำหนดลำดับความสำคัญของความต้องการใช้สินค้า บริการ

3)      จัดทำและปรับปรุงข้อมูลฐานข้อมูลผู้ขายสินค้าและบริการ

4)      จัดทำเอกสารและดำเนินการจัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง

5)      ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับตรวจรับสินค้า บริการที่ส่งมอบ

6)      ประเมินประสิทธิภาพของผู้ส่งมอบสินค้าบริการ

7)      สร้างกลยุทธ์ในการลดต้นทุน มองหาช่องทางในการจัดซื้อของที่ราคาเหมาะสม

 

ทั้งนี้ หากเป็นพนักงานจัดซื้อต่างประเทศอาจจะต้องปฏิบัติงานด้านการนำเข้าสินค้าร่วมด้วย

5. พนักงานคลังสินค้า หรือพนักงานควบคุมคลังสินค้า

1)      จัดเตรียมสถานที่รับสินค้าจากผู้ส่งมอบ และดูแลการรับสินค้าเข้าคลัง

2)      จัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายสินค้าให้พร้อมใช้งาน และเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

3)      ควบคุมจัดเรียงสินค้าในคลังสินค้า และกำกับดูแลการเคลื่อนย้ายสินค้าภายในคลัง

4)      ตรวจสอบสินค้าและเอกสารก่อนการจ่ายสินค้าออกจากคลังสินค้า

5)      ควบคุมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในคลังสินค้า

6)      ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

6. พนักงานขาย ในบริษัทตัวแทนรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

1)      จัดทำเอกสารใบเสนอราคา และประสานงานกับแผนกบริการลูกค้า

2)      เสนอขายบริการที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งระหว่างประเทศ เช่น บริการขนส่ง บริการบรรจุ บริกาศผ่านพิธีการศุลกากร

3)      ออกเยี่ยมลูกค้า และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า

7. พนักงานบริการลูกค้า ในบริษัทตัวแทนรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

4)      ให้บริการจองระวาง ตรวจสอบเอกสาร และให้คำแนะนำแก่ลูกค้า ผู้นำเข้า หรือผู้ส่งออก

5)      จัดทำเอกสารและเอกสารสำหรับตัวแทนออกของรับอนุญาต ผู้ให้บริการคลังสินค้า ผู้ให้บริการจัดการบรรจุสินค้าเพื่อการขนส่งระหว่างประเทศ

6)      ประสานงาน และติดตามการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถจัดส่งสินค้าระหว่างประเทศได้อย่างราบรื่น

8. พนักงานแผนกนำเข้า

1)      ประสานงานผู้ขายในต่างประเทศ ฝ่ายผลิต หรือฝ่ายสินค้าคงคลังเพื่อกำหนดวันต้องการสินค้า

2)      ติดต่อตัวแทนรับจัดการขนส่ง ชิปปิ้ง สายเรือ สายการบิน และหัวลาก เพื่อนัดหมายการเข้ารับสินค้าในต่างประเทศ หรือการจัดส่งสินค้าในประเทศ

3)      ติดต่อหน่วยงานภาครัฐเพื่อยื่นเอกสารใบอนุญาตนำเข้า หรือการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี

9. พนักงานแผนกส่งออก

1)      ประสานงานฝ่ายผลิต หรือคลังสินค้าเพื่อจัดตารางการโหลดสินค้า

2)      ติดต่อตัวแทนรับจัดการขนส่ง ชิปปิ้ง สายเรือ สายการบิน และหัวลาก เพื่อนัดหมายการโหลดสินค้า

3)      ประสานงานกับลูกค้า และจัดทำเอกสารการส่งสินค้าระหว่างประเทศ

10. เจ้าของธุรกิจ

1)      ประเมินสถานการณ์ของบริษัทเพื่อวางแผนกลยุทธ์  และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการพัฒนาธุรกิจ

2)      เจรจาประสานงาน และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับ คู่ค้า ผู้ขาย และลูกค้า

3)      วิเคราะห์ข้อมูลและกระบวนการทำงานเพื่อพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทำงานด้านโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพ

4)      นำเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน

5)      กำกับ ติดตาม และดูแลให้การดำเนินงานด้านโลจิสติกส์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ปีที่สภามวล. อนุมัติ 2566
ภาค/ปีที่เปิดสอน 1/2567
ปี ที่ต้องประเมิน/ปรับปรุงให้แล้วเสร็จ 2571
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
รายชื่อผู้รับผิดชอบหลักสูตร (ตามเล่มรายละเอียดของหลักสูตร) รายชื่อผู้รับผิดชอบหลักสูตร (ล่าสุด)

1. ผศ.ดร.พนิดา แช่มช้าง
2. ผศ.บุณฑรี จันทร์กลับ
3. อาจารย์ ดร.กัญญนิจ วิเชียรรัตน์
4. อาจารย์ฮุชเซ็น นิยมเดชา
5. อาจารย์สุพิชา วิไลศรี

1. ผศ.ดร.พนิดา แช่มช้าง
2. ผศ.บุณฑรี จันทร์กลับ
3. อาจารย์ ดร.กัญญนิจ วิเชียรรัตน์
4. อาจารย์ฮุชเซ็น นิยมเดชา
5. อาจารย์สุพิชา วิไลศรี

รายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร
รายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร (ตามเล่มรายละเอียดของหลักสูตร) รายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร (ล่าสุด)

1. ผศ.ดร.พนิดา แช่มช้าง
2. ผศ.บุณฑรี จันทร์กลับ
3. อาจารย์ ดร.กัญญนิจ วิเชียรรัตน์
4. อาจารย์ฮุชเซ็น นิยมเดชา
5. อาจารย์สุพิชา วิไลศรี

1. ผศ.ดร.พนิดา แช่มช้าง
2. ผศ.บุณฑรี จันทร์กลับ
3. อาจารย์ ดร.กัญญนิจ วิเชียรรัตน์
4. อาจารย์ฮุชเซ็น นิยมเดชา
5. อาจารย์สุพิชา วิไลศรี

การพิจารณาโดยคณะกรรมการประจำสำนักวิชา ประชุมครั้งที่/ปี : 10/2566 วันที่ : 31 ตุลาคม 2566
การพิจารณาโดยคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ประชุมครั้งที่/ปี : -
การพิจารณาโดยคณะกรรมการสภาวิชาการ ประชุมครั้งที่/ปี : ครั้งพิเศษที่ 5/2566 วันที่ : 20 พฤศจิกายน 2566
การพิจารณาโดยคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ประชุมครั้งที่/ปี : 11/2566 วันที่ : 9 ธันวาคม 2566
การรับรองคุณวุฒิจาก สป.อว. วันที่เริ่มกระบวนการปัจจุบัน : 30 ธันวาคม 2566
วันที่ครบกำหนดรับทราบ : 14 มกราคม 2567
รายละเอียดการปรับปรุง/แก้ไขหลักสูตรระหว่างการรับทราบหลักสูตรจาก สป.อว.
1. A1/1 หัวหน้าฝ่ายกำลังตรวจสอบ เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2567
สถานะการพิจาณาโดย สป.อว. : A1/1 หัวหน้าฝ่ายกำลังตรวจสอบ เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2567
การรับรองคุณวุฒิจาก กคศ.
การรับรองคุณวุฒิจาก กพ.
แบบรายงานการพิจารณาอนุมัติหลักสูตร

หมายเหตุ สถานะการพิจาณาโดย สป.อว.
1. W=รอส่งจากสำนักวิชา
2. W1=ส่งไประดับมหาวิทยาลัย
3. S/ครั้งที่(Date) = ส่งไป สป.อว. แล้ว (เมื่อวันที่)
4. E/ครั้งที่(date) = ส่งให้มหาวิทยาลัยแก้ไข
5. A1/ครั้งที่(date) = หัวหน้าฝ่าย (ตรวจสอบ)
6. A2/ครั้งที่(date) = ผู้อำนวยการกลุ่ม (ตรวจสอบ)
7. A3/ครั้งที่(date) = ผู้อำนวยการสำนัก (ตรวจสอบ)
8. A4/ครั้งที่(date) = รองเลขาธิการ (ตรวจสอบ)
9. P/1 = พิจารณาความสอดคล้องและออกรหัสหลักสูตรเรียบร้อยแล้ว
Top