รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก


แนวปฏิบัติ กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning)

1. ลักษณะการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
1.1 ลักษณะที่ 1 การเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานเต็มรูปแบบ ได้แก่
1) รายวิชา HUM-103 ตัวตนกับสังคม 1(4-0-8)
2) รายวิชา ENG-102 ภาษาอังกฤษกับการประยุกต์ใช้ 1(4-0-8)
1.2 ลักษณะที่ 2 การเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานแบบผสม[1] ได้แก่
1) กลุ่มรายวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ของมนุษย์ จำนวน 7 รายวิชา
2) กลุ่มรายวิชาพรีคลินิกและกลุ่มรายวิชาเวชศาสตร์ชุมชนและครอบครัว จำนวน 33 รายวิชา

2. การเตรียมความพร้อมการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
2.1 การเตรียมความพร้อมของอาจารย์ประจำกลุ่ม (Facilitator)
2.2 การเตรียมความพร้อมของนักศึกษา
2.3 การเตรียมความพร้อมของสื่อการเรียนการสอนและห้องเรียน
1) คู่มืออาจารย์ประจำกลุ่ม (Facilitator’s guide)
2) คู่มือนักศึกษา (Student’s guide)
3) โจทย์ปัญหา (Scenario)
4) แบบประเมิน (อาจารย์ประจำกลุ่ม นักศึกษา โจทย์ปัญหา)
5) ตำรา (1 ชุด) และเอกสารประกอบการเรียนการสอน
6) ห้องเรียน (ขนาดประมาณ 10 - 12 คน) ประกอบด้วย สื่อโสตทัศนูปกรณ์
7) ระบบอินเทอร์เน็ต Wifi

3. กระบวนการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
3.1 กระบวนการเรียนการสอน
1) การจัดให้มีขั้นตอนทั้งหมด 7 ขั้นตอน
2) การจัดให้มีชั่วโมงสรุปภาพรวม เพิ่มอีก 1 ขั้นตอน
3) การจัดสัดส่วนอาจารย์ประจำกลุ่มต่อนักศึกษา ประมาณ 1 : 8-12 คน
4) การจัดบทบาทหน้าที่ให้ประธาน เลขานุการ และสมาชิก เพื่อดำเนินการตามขั้นตอน
3.2 การจัดตารางเวลาเรียน
1) การเรียนแต่ละโจทย์ปัญหาใช้เวลา 2 ครั้งๆ ละ 2-3 ชั่วโมง โดยมีช่วงเวลาระหว่างครั้งอย่างน้อย 2-3 วัน เพื่อให้นักศึกษามีเวลาค้นคว้าข้อมูลด้วยตนเองและจัดทำข้อมูลในการรายงานต่อกลุ่ม
2) การเรียนครั้งที่ 1 จะครอบคลุมขั้นตอนที่ 1-5 การเรียนครั้งที่ 2 จะครอบคลุมขั้นตอนที่ 6-7
3.3 การวัดและประเมินผล
1) การวัดผล
1.1) กระบวนการ (Process) [อาจารย์ประเมินนักศึกษา/นักศึกษาประเมินโจทย์ปัญหา] 6% ของคะแนนทั้งรายวิชา
1.2) ผลผลิต (Product) โดยกระบวนการคำถามแบบปรนัยและอัตนัย 6% ของคะแนนทั้งรายวิชา
2) การประเมินผล
โดยใช้คะแนนที่ได้จากการวัดผล นำไปรวมกับคะแนนส่วนที่เหลือในรายวิชานั้นๆ เพื่อประเมินผลออกมาเป็นเกรด
หมายเหตุ
ได้รับข้อมูลการจัดการเรียนการสอนแบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน
1. ศาสตราจารย์ ดร.วรนันท์ ศุภพิพัฒน์ สำนักวิชาแพทยศาสตร์
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ชยานุวัชร สำนักวิชาศิลปศาสตร์
3. อาจารย์ ดร.ทิพย์วัลย์ สุทิน สำนักวิชาศิลปศาสตร์
วิดีโอ PBL 7 Steps


แนวปฏิบัติ กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การเรียนการสอนแบบการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา (Case-based Learning)

กรณีรายวิชาตัวอย่างของสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร (หลักสูตรวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม)
1. ลักษณะการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
1.1 ลักษณะที่ 1 การศึกษาจากกรณีศึกษาภาคสนาม โดยเน้นชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมใน
กระบวนการเรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือเพื่อเรียนรู้ปัญหาและแนวทางสำหรับชุมชน
1.2 ลักษณะที่ 2 การศึกษาจากกรณีศึกษาโดยให้ไปค้นคว้าหาข้อมูล นำมาอภิปราย และนำเสนอ
2. การเตรียมความพร้อมการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย
2.1 การเตรียมความพร้อมของอาจารย์ในหลักสูตร
2.2 การเตรียมความพร้อมของนักศึกษา
2.3 การเตรียมความพร้อมของสื่อการเรียนการสอน
2.4 การเตรียมความพร้อมของชุมชนมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
3. การเรียนการสอนแบบการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
3.1 กระบวนการเรียนการสอน
ลักษณะที่ 1 การศึกษาจากกรณีศึกษาภาคสนาม โดยเน้นชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้
  • การบรรยาย ค้นคว้าข้อมูล และเตรียมการสำหรับภาคสนาม
  • การจัดสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษา ประมาณ 1 : 6 คน
  • การจัดบทบาทหน้าที่ให้ประธานและสมาชิก ดำเนินการโดยนักศึกษา
  • ลักษณะที่ 2 การศึกษาจากกรณีศึกษาโดยให้ไปค้นคว้าหาข้อมูล นำมาอภิปราย และนำเสนอ
  • การกำหนดหัวข้อให้นักศึกษา (ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม)
  • การให้นักศึกษาเขียนรายงาน นำเสนอ และอภิปรายผลการศึกษาค้นคว้าตามหัวข้อที่ได้รับ
  • 3.2 การจัดตารางเวลาเรียน
    ลักษณะที่ 1 การศึกษาจากกรณีศึกษาภาคสนาม โดยเน้นชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้
  • การบรรยาย 24 ชั่วโมงต่อรายวิชา
  • การศึกษาค้นคว้า 1 หัวข้อ ตลอดภาคการศึกษา
  • การค้นคว้าหาข้อมูล
  • การเขียนรายงาน นำเสนอ และอภิปรายผลการศึกษาค้นคว้า
  • ลักษณะที่ 2 การศึกษาจากกรณีศึกษาโดยให้ไปค้นคว้าหาข้อมูล นำมาอภิปราย และนำเสนอ
  • การบรรยาย 4-8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
  • การกำหนดหัวข้อในการค้นคว้า
  • การเขียนรายงาน นำเสนอ และอภิปรายผลการศึกษาค้นคว้า
  • 3.3 การวัดและประเมินผล
    ลักษณะที่ 1 การศึกษาจากกรณีศึกษาภาคสนาม โดยเน้นชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้
    1) การวัดผล
    1.1) กระบวนการ (Process) 10 % ของคะแนนทั้งรายวิชา
    วัดผลโดยประเมินความก้าวหน้าของงาน การเขียนโครงร่าง (Proposal) และดำเนินงานตามโครงร่างที่ได้เสนอไว้
    1.2) ผลผลิต (Product) 90 % ของคะแนนทั้งรายวิชา
    การสอบแบบอัตนัย 40 %
    รายงานกลุ่มและนำเสนอ 50 %
    2) การประเมินผล
    โดยใช้คะแนนที่ได้จากการวัดผล นำไปรวมกับคะแนนส่วนที่เหลือในรายวิชานั้นๆ เพื่อประเมินผลออกมาเป็นเกรด
    หมายเหตุ ได้รับข้อมูลการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา
    1. อาจารย์สุธีระ ทองขาว สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร
    2. อาจารย์ ดร.ศิริอุมา เจาะจิตต์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์


    แนวปฏิบัติ กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
    การเรียนการสอนแบบการเรียนรู้จากชุมชน (Community-based Learning)

    กรณีตัวอย่างของสำนักวิชาแพทยศาสตร์
    1. ลักษณะการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้จากชุมชน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    1.1 ลักษณะที่ 1 การศึกษาจากการเก็บข้อมูลสุขภาพ ครอบครัวและชุมชน
    ตัวอย่างเช่น รายวิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน 1 มีการจัดการเรียนการสอนตลอดปีการศึกษา
    1.2 ลักษณะที่ 2 การวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพชุมชนจัดทำโครงงานสุขภาพ
    ตัวอย่างเช่น รายวิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและชุมชน 2-3 ซึ่งอาจารย์เป็นผู้มอบหมายให้นักศึกษาทำโครงงานสุขภาพในชุมชมที่สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์/วินิจฉัยชุมชน นักศึกษาเก็บข้อมูลทั้งในรูปแบบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการทำโครงงานด้วย
    2. การเตรียมความพร้อมการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้จากชุมชน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    2.1 การเตรียมความพร้อมของอาจารย์ประจำกลุ่ม (Facilitator) จัดทำคู่มืออาจารย์ประจำกลุ่ม การกำหนด Resource Person โดยมีอาจารย์ทั้งภายในและนอกสำนักวิชาที่มีความเชี่ยวชาญในการสอนเวชศาสตร์ชุมชน ตลอดจนหน่วยงานแลเจ้าหน้าที่ทางด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เข้าร่วมสอน
    2.2 การเตรียมความพร้อมของนักศึกษา จัดทำคู่มือนักศึกษา
    2.3 การเตรียมความพร้อมของสื่อการเรียนการสอน
    2.4 การเตรียมความพร้อมของชุมชน
    3. การเรียนการสอนแบบการเรียนรู้จากชุมชน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    3.1 กระบวนการเรียนการสอน (ลักษณะที่ 1 การศึกษาจากการเก็บข้อมูลสุขภาพ ครอบครัวและ ชุมชน) โดยกระบวนการเรียนการสอนเป็นลักษณะของการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยกระบวนการศึกษาเชิงคุณภาพและปริมาณ สังเกต สอบถาม พูดคุยกับชาวบ้านและชุมชน มีการศึกษาครอบครัวและภาพรวมของชุมชน เป็นข้อมูลเชิงสุขภาพ
    1) การจัดให้มีขั้นตอน 6 ขั้นตอน
    2) การจัดสัดส่วนอาจารย์ประจำกลุ่มต่อนักศึกษา ประมาณ 1 : 8 คน
    3) การจัดบทบาทหน้าที่ให้นักศึกษาเป็นประธาน เลขานุการ และสมาชิก เพื่อดำเนินการตามขั้นตอน 6 ขั้นตอน และให้นักศึกษาหมุนเวียน/สลับบทบาทหน้าที่กันทุกคน
    3.2 กระบวนการเรียนการสอน (ลักษณะที่ 2 การจัดทำโครงงานสุขภาพ) โดยกระบวนการเรียนการสอนเป็นลักษณะของการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยกระบวนการศึกษาเชิงคุณภาพและปริมาณ สังเกต สอบถาม พูดคุยกับชาวบ้านและชุมชน มีการศึกษาครอบครัวและภาพรวมของชุมชน เป็นข้อมูลเชิงสุขภาพ
    1) การจัดให้มีขั้นตอน 6 ขั้นตอน
    2) การจัดสัดส่วนอาจารย์ประจำกลุ่มต่อนักศึกษา ประมาณ 1 : 8 คน
    3) การจัดบทบาทหน้าที่ให้นักศึกษาเป็นประธาน เลขานุการ และสมาชิก เพื่อดำเนินการตามขั้นตอน 6 ขั้นตอน
    4) การให้นักศึกษาเขียนรายงานและการนำเสนอผลการดำเนินงานโครงงาน
    3.3 การจัดตารางเวลาเรียน
    ลักษณะที่ 1 การศึกษาจากการเก็บข้อมูลสุขภาพ ครอบครัวและชุมชน
    1) ชุมชนการบรรยาย 4-8 ชั่วโมงต่อรายวิชา
    2) การเรียนแต่ละโจทย์ปัญหาด้านครอบครัวและชุมชน ใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ต่อโจทย์ปัญหา
    3) การวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพที่ได้จากครอบครัวและชุมชน
    4) การสรุปและนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ
    ลักษณะที่ 2 การจัดทำโครงงานสุขภาพ
    1) การบรรยาย 4-8 ชั่วโมงต่อรายวิชา
    2) การเรียนแต่ละโจทย์ปัญหาด้านครอบครัวและชุมชน ใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ต่อโจทย์ปัญหา
    3) การจัดทำโครงงานจากปัญหาสุขภาพในชุมชน [จากข้อ 2)]
    4) ชุมชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการโดยเข้ามาร่วมตั้งแต่การจัดทำเวทีชุมชน เพื่อแสดงความตระหนักของปัญหาสึขภาพชุมชน เสนอแนะ/รวบรวมวิธีการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ตลอดจนแสดงความคาดหวังภาวะสุขภาพของชุมชน โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วยผู้นำชุมชน ผู้นำสุขภาพชุมชน ครัวเรือนที่ทำการศึกษา และกลุ่มเป้าหมายช่วงอายุต่าง ๆ ในชุมชน ทั้งนี้ในการดำเนินกิจกรรมชุมชนเข้ามาเรียนรู้วิธีการดำเนินกิจกรรม ได้ลงมือทำร่วมกับนักศึกษาด้วย
    3.4 การวัดและประเมินผล
    1) การวัดผล
    ลักษณะที่ 1 การศึกษาจากการเก็บข้อมูลสุขภาพ ครอบครัวและชุมชน
    1.1) กระบวนการ (Process) 30 % ของคะแนนทั้งรายวิชา
    ประเมินกระบวนการกลุ่ม ประเมินทักษะนักศึกษา และประเมินเพื่อนนักศึกษา
    1.2) ผลผลิต (Product) 70 % ของคะแนนทั้งรายวิชา
    การสอบแบบอัตนัย 30 %
    รายานกลุ่ม 20 %
    รายงานรายบุคคล 15 %
    Portfolio 5 %
    2) การประเมินผล
    โดยใช้คะแนนที่ได้จากการวัดผล นำไปรวมกับคะแนนส่วนที่เหลือในรายวิชานั้นๆ เพื่อประเมินผลออกมาเป็นเกรด
    หมายเหตุ ได้รับข้อมูลการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้จากชุมชน
    1. อาจารย์ ดร.ศศิธร ธนะภพ สำนักวิชาแพทยศาสตร
    2. อาจารย์ นพ.พันธ์ชัย รัตนสุวรรณ สำนักวิชาแพทยศาสตร์

    แนวปฏิบัติ กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
    การเรียนการสอนแบบการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย (Research-based Learning)

    กรณีรายวิชาตัวอย่างของสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร (หลักสูตรวิศวกรรมเคมีและกระบวนการ) รายวิชา CPE-442: Chemical Engineering Process Design
    1. ลักษณะการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นการศึกษาโดยใช้โครงงานขนาดเล็ก
    2. การเตรียมความพร้อมการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

    มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    2.1 การเตรียมความพร้อมของอาจารย์
    1) จัดเตรียม Blog ที่นักศึกษาสามารถ
    - เข้าถึงสื่อการเรียนการสอนแบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ เอกสารประกอบการสอน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงต่างๆ
    - ใช้เป็นช่องทางสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักศึกษาและอาจารย์ นอกเวลาเรียนในชั้นเรียน
    2.2 การเตรียมความพร้อมของนักศึกษา
    นักศึกษาควรมีคอมพิวเตอร์ notebook ที่สามารถต่อเชื่อมกับระบบ wireless internet ของมหาวิทยาลัย
    2.3 การเตรียมความพร้อมของสื่อการเรียนการสอนและห้องเรียน
    1) ห้องเรียนต้องมีสื่อโสตที่เหมาะสม สามารถเชื่อมต่อระบบ Wireless internet ได้
    2.4 ห้องเรียนมีพื้นที่เพียงพอในการจัดพื้นที่เพื่อการทำงานเป็นกลุ่มได้
    3.1 กระบวนการเรียนการสอน
    3. การเรียนการสอนแบบการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    จัดการเรียนการสอนโดยมีความเชื่อมโยงของเนื้อหา (Learning Contents) ในลักษณะของหน่วยการเรียนรู้ (Learning Modules)
  • อาจารย์กำหนดโครงงาน 2 โครงงาน และให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม โดยรับผิดชอบกลุ่มละ 1 โครงงาน
  • นักศึกษาฟังการบรรยาย และ อาจารย์สอนให้นักศึกษาฝึกใช้โปรแกรมการจำลองการทำงานของกระบวนการ
  • นักศึกษาออกแบบกระบวนการทางเคมี โดยพัฒนาโครงงานตามขั้นตอนและกระบวนการที่สัมพันธ์กับการเรียนภาคบรรยาย
  • นักศึกษาอภิปราย (discussion) ร่วมกัน
  • นักศึกษานำเสนอผลงาน
  • นักศึกษาเขียน Technical report เป็นรายบุคคล โดยอาจารย์เป็นผู้กำหนดกรอบเงื่อนไขให้
  • อาจารย์มีสื่อและแหล่งเรียนรู้ให้กับนักศึกษา
  • 3.2 การจัดตารางเวลาเรียน
    รายวิชา CPE-442 1(4-0-8) มีการจัดตารางเรียนที่สอดคล้องกับจำนวนหน่วยวิชา
  • การบรรยายจัดให้มีการสอนเชิงบรรยาย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
  • การปฎิบัติการจัดให้มีกิจกรรมการอภิปรายในชั้นเรียน รวมถึงการฝึกการนำเสนอผลงานของนักศึกษา อีก 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
  • การศึกษาด้วยตัวเองนอกห้องเรียนนักศึกษาควรมีเวลาในการทบทวนบทเรียนและพัฒนาโครงงาน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าสำหรับการเรียนในห้อง ไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
  • 3.3 การวัดและประเมินผล
    1) การวัดผล
    1.1) กระบวนการ (Process) 10% ของคะแนนทั้งรายวิชา
    - ประเมินจากการอภิปรายและนำเสนอผลงาน/การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
    1.2) ผลผลิต (Product) 90% ของคะแนนทั้งรายวิชา
    - การสอบปากเปล่า (Oral examination) 0%(เป็นส่วนประกอบในการประเมินความเข้าใจและความสมบูรณ์ของรายงาน โดยให้นักศึกษานำเสนอและอาจารย์เป็นผู้ซักถามระหว่างการนำเสนอ)
    - การสอบแบบอัตนัย 60 %
    - Individual Technical Report 30 %
    2) การประเมินผล
    โดยใช้คะแนนที่ได้จากการวัดผลเพื่อประเมินผลออกมาเป็นเกรด
    หมายเหตุ ได้รับข้อมูลการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย
    อาจารย์ ดร.อรรถโส ขำวิจิตร สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร

    แนวปฏิบัติ กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
    การเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยโครงงาน (Project-based Learning)

    กรณีรายวิชาโครงงานนิเทศศาสตร์ หลักสูตรนิเทศศาสตร์ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์
    1. ลักษณะการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยโครงงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    การศึกษา อาจารย์กำหนดการเลือกหัวข้อ/โจทย์เป็น 4 แนวทางโดยอิงจากกลุ่มวิชาเอกเลือกในหลักสูตร กล่าวคือโจทย์ด้านวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์/วีดิทัศน์ ประชาสัมพันธ์ โฆษณา และวารสารศาสตร์ นักศึกษาเลือกหัวข้อตามที่ตนเองสนใจ โดยในแต่ละหัวข้อให้มีจำนวนนักศึกษาในแต่ละกลุ่มไม่เกิน 4 คน แต่อาจน้อยกว่านี้ก็ได้ เช่น 2-3 คนต่อกลุ่ม
    2. การเตรียมความพร้อมการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยโครงงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    2.1 การเตรียมความพร้อมของอาจารย์ มีการประชุมนักศึกษาเพื่อให้โจทย์ ทำความตกลงร่วมกันเกี่ยวกับข้อกำหนดต่างๆ กำหนดการทำงาน การแบ่งภาระงานของอาจารย์แต่ละท่าน และการวัดผล
    2.2 การเตรียมความพร้อมของนักศึกษา อาจารย์ผู้ทำหน้าที่ผู้ประสานงานรายวิชานัดนักศึกษาทั้งหมดประชุม และมีการบรรยายให้นักศึกษาเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการเลือกหัวข้อ การแบ่งกลุ่ม การเลือกอาจารย์ที่ปรึกษา และกระบวนการทำงาน
    2.3 การเตรียมความพร้อมของสื่อการเรียนการสอน (PPT, document)
    3. การเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยโครงงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    3.1 กระบวนการเรียนการสอน
    1) การจัดกระบวนการเรียนการสอน (ประชุมนักศึกษาเพื่อให้โจทย์ บรรยายการเขียนโครงการ – นักศึกษาทำความเข้าใจ เลือกหัวข้อ และเลือกอาจารย์ที่ปรึกษา - เขียน proposal - นัดกรรมการสอบ proposal - ปรับปรุงแก้ไขและนัดสอบซ่อม (หากจำเป็น) – ดำเนินตามโครงงาน - นำเสนอโครงงาน
    2) การจัดสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษา เกลี่ยงานกันตามความเหมาะสม อาจารย์ที่เป็นที่ปรึกษาหลายหัวข้อจะเป็นกรรมการสอบน้อยกลุ่มกว่าอาจารย์ที่เป็นที่ปรึกษาน้อยกลุ่มกว่า
    3) นักศึกษาในกลุ่มช่วยกันทำงานโดยแนะนำให้ทำการแบ่งบทบาทและหน้าที่ให้ชัดเจน รวมทั้งแผนการทำงาน สัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษา 1 : 9
    3.2 การจัดตารางเวลาเรียน
    1) กำหนดไว้เป็นวันเสาร์บ่าย นัดพบกับนักศึกษาตามความจำเป็น เน้นที่การให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มไปพบอาจารย์ที่ปรึกษาและกรรมการสอบในทุกสัปดาห์ตลอดภาคการศึกษา
    3.3 การวัดและประเมินผล มีตารางแสดงดัชนีการให้คะแนนสำหรับการประเมินผลแต่ละครั้ง
    1) การสอบ proposal 15 % ผู้สอบและให้คะแนนประกอบด้วยประธาน กรรมการ และอาจารย์ที่ปรึกษา รวม 3 คน ใช้เวลาสอบกลุ่มละประมาณ 1 ชั่วโมง
    2) การให้คะแนนโดยอาจารย์ที่ปรึกษา 20 % (คะแนนของนักศึกษาในแต่กลุ่มอาจได้รับไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของอาจารย์ที่ปรึกษา)
    3) การให้คะแนนตอนนำเสนอ/สอบโครงงาน เหมือนกับข้อ 1) ทั้งนี้ ในการสอบจะต้องนำเสนอโครงงาน(ผลผลิต) และส่งรายงาน ใช้เวลาสอบกลุ่มละประมาณ 1 ชั่วโมง 65 % แบ่งเป็นสัดส่วนคะแนนโดยพิจารณาจาก 1) การนำเสนอ 2) ผลผลิต และ 3) รายงาน
    * คะแนนที่ได้รับทั้งหมดจะถูกนำมารวบรวมและตัดเกรดโดยผู้ประสานงานรายวิชา ทั้งนี้ โดยอิงแนวทางที่ได้รับความเห็นชอบและเกณฑ์ของสำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์
    หมายเหตุ ได้รับข้อมูลการจัดการเรียนการสอนด้วยโครงงาน รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ เพรสคอทท์ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์

    กรณีรายวิชาตัวอย่างของสำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ (หลักสูตรการออกแบบอุตสาหกรรม)
    1. ลักษณะการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยโครงงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ การศึกษาโดยอาจารย์กำหนดโปรแกรมหรือโจทย์ให้นักศึกษาเลือก และทำเป็นรายบุคคล
    2. การเตรียมความพร้อมการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยโครงงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

    2.1 การเตรียมความพร้อมของอาจารย์
    2.2 การเตรียมความพร้อมของนักศึกษา บรรยายให้นักศึกษาเข้าใจกระบวนการทำงาน
    2.3 การเตรียมความพร้อมของสื่อการเรียนการสอน (PPT, document)
    3. การเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยโครงงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    3.1 กระบวนการเรียนการสอน
    1) การจัดกระบวนการเรียนการสอน (ให้โจทย์ – นักศึกษาทำความเข้าใจ – นักศึกษานำเสนอข้อมูลและร่วมกันอภิปราย – ดำเนินตามโครงงาน)
    2) การจัดสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษา ประมาณ 1 : 6 คน (แบ่งเป็นกลุ่มย่อย)
    3) นักศึกษาในกลุ่มช่วยกันทำงานโดยไม่ได้แบ่งบทบาทและหน้าที่ชัดเจน
    3.2 การจัดตารางเวลาเรียน
    1) การบรรยาย 36 ชั่วโมงต่อรายวิชา
    2) การปฏิบัติการออกแบบ 72 ชั่วโมงต่อรายวิชา
    3.3 การวัดและประเมินผล
    ลักษณะที่ 1 การศึกษาจากกรณีศึกษาภาคสนาม โดยเน้นชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้
    1) การวัดผล
    1.1) กระบวนการ (Process) 60% ของคะแนนทั้งรายวิชา
    1.2) ผลผลิต (Product) 30 % ของคะแนนทั้งรายวิชา
    การเข้าชั้นเรียน 10%
    การทำงานในชั้นเรียน 40%
    การสอบกลางภาค 20%
    การสอบปลายภาค 30%
    2) การประเมินผล โดยใช้คะแนนที่ได้จากการวัดผล นำไปรวมกับคะแนนส่วนที่เหลือในรายวิชานั้นๆ เพื่อประเมินผลออกมาเป็นเกรด

    * ตอนนี้วิชาหลักในสาขา (การออกแบบอุตสาหกรรม 1, 2, 3) มี 1 โครงงาน ตลอดทั้งเทอม รวมเป็น 90 % แต่จะมีการปรับเปลี่ยน ให้มีส่วนของปฏิบัติการอย่างอื่น หรือ อาจจะมี 2 โครงงาน รวมเป็น 90 % และคะแนนการเข้าชั้นเรียนอีก 10 % เหมือนเดิม

    หมายเหตุ ได้รับข้อมูลการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยโครงงาน
    อาจารย์ เรวัต สุขสิกาญจน์ สำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ


    กรณีรายวิชาตัวอย่างของสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร (หลักสูตรเทคโนโลยีอาหาร)
    1. ลักษณะการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยโครงงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    การศึกษาโดยอาจารย์กำหนดหัวข้อ 9-10 หัวข้อ และให้นักศึกษาเป็นกลุ่มย่อย 3-4 คน เลือกตามที่สนใจ
    2. การเตรียมความพร้อมการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    2.1 การเตรียมความพร้อมของอาจารย์และนักวิทยาศาสตร์
    2.2 การเตรียมความพร้อมของนักศึกษา (บรรยายขั้นตอนการทำโครงงาน และการค้นคว้าให้นักศึกษา)
    2.3 การเตรียมความพร้อมของสื่อการเรียนการสอน (PPT, document)
    3. การเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยโครงงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    3.1 กระบวนการเรียนการสอน
    1) การจัดโดย อาจารย์กำหนดหัวข้อให้นักศึกษาได้ไปศึกษาข้อมูล จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปคำนวณ/วิเคราะห์ และนักศึกษาอาจจะดำเนินการตาม guide line หรือวิธีการทำงานของนักศึกษาเอง
    2) การจัดสัดส่วนอาจารย์ประจำกลุ่มต่อนักศึกษา ประมาณ 1 : 4 คน และจัดสรรให้นักวิทยาศาสตร์เป็นพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม
    3) กลุ่มมีการช่วยกันทำงาน ไม่ได้แบ่งบทบาทชัดเจน
    3.2 การจัดตารางเวลาเรียน
    1) การบรรยาย 36 ชั่วโมงต่อรายวิชา
    2) การปฏิบัติการโครงงาน 36 ชั่วโมงต่อรายวิชา
    3.3 การวัดและประเมินผล
    1) การวัดและการประเมินผลสำหรับภาคบรรยาย คิดเป็น 60% ของคะแนนทั้งรายวิชาโดยการสอบแบบอัตนัยคือ สอบกลางภาค 1 ครั้ง และสอบปลายภาค 1 ครั้ง
    2) การวัดและการประเมินผลสำหรับภาคปฏิบัติการโครงงาน คิดเป็น 40% ของคะแนนทั้งรายวิชา จากการดำเนินงานใน 2 ลักษณะดังนี้
    ลักษณะที่ 1 การศึกษาจากกรณีศึกษาภาคสนาม โดยเน้นชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ และ/หรือ การสังเกตและเก็บข้อมูลจากสถานประกอบการระดับอุตสาหกรรม
    ลักษณะที่ 2 การศึกษาและเก็บข้อมูลในห้องปฏิบัติการ การวัดผล เพื่อประเมินภาคปฏิบัติการโครงการ
    2.1) วัดจากกระบวนการ (Process) 20 %
    - ความตั้งใจและการเข้าชั้นเรียน 10 %
    - การมีส่วนร่วมและและพฤติกรรมกลุ่ม 10 %
    2.2) วัดจากผลผลิต (Product) 80 %
    - การรายงานกลุ่ม 56 %
    - การสอบแบบอัตนัย 24 %
    3) การประเมินผล/จัดระดับชั้น โดยใช้คะแนนที่ได้จากการวัดผล ข้อ 3.3.1 นำไปรวมกับคะแนน ข้อ 3.3.2 เพื่อประเมินผล/จัดระดับชั้น ออกมาเป็นเกรด A-F
    หมายเหตุ ได้รับข้อมูลการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยโครงงาน
    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไวกูณฐ์ ฤทธิรุฒม์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

    แนวปฏิบัติ กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
    การเรียนการสอนแบบปฏิบัติการ (Laboratory)

    กรณีรายวิชาตัวอย่าง (ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับด้านสรีรวิทยา) ของสำนักวิชาแพทยศาสตร์
    1. ลักษณะการเรียนการสอนแบบปฏิบัติการ
    การศึกษาโดยกำหนดหัวข้อ/โจทย์/โปรแกรมปฏิบัติการให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่เรียนในรายวิชา แล้วให้นักศึกษาปฏิบัติการหรือทดลองจริงเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
    2. การเตรียมความพร้อมการเรียนการสอนแบบปฏิบัติการ
    2.1 การเตรียมความพร้อมของอาจารย์
    1) การเตรียมความพร้อมในเนื้อหาสาระของการปฏิบัติการ
    2) การทดสอบปฏิบัติการก่อนจัดการเรียนการสอนให้ได้ผลการทดลองที่ถูกต้อง
    3) การบรรยายสรุปหลังสิ้นสุดปฏิบัติการ
    2.2 การเตรียมความพร้อมของนักศึกษา
    1) การบรรยายขั้นตอนกระบวนการทำงานในแต่ละปฏิบัติการ
    2) การแบ่งกลุ่มนักศึกษาและมีอาจารย์ประจำกลุ่มที่ชัดเจน
    3) ขั้นตอนกระบวนการทำงาน และการอภิปรายผลการทดลอง
    4) การเขียนรายงาน
    2.3 การเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ
    1) การประสานงานกับอาจารย์ผู้สอนเพื่อเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์และเครื่องมือ
    2) การทดสอบปฏิบัติการ/เครื่องมือก่อนจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ได้ผลการทดลองที่ถูกต้องตามจริง
    2.3 การเตรียมความพร้อมของสื่อการเรียนการสอน
    1) เอกสารประกอบการสอน
    2) การเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์/เครื่องมือ
    3. การเรียนการสอนแบบปฏิบัติการ
    3.1 กระบวนการเรียนการสอน
    1) การจัดกระบวนการเรียนการสอน
    - อาจารย์ทบทวนเนื้อหา/บรรยายขั้นตอนปฏิบัติการ
    - นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง รวบรวมผลการทดลอง และอภิปรายผลการทดลองเป็นรายกลุ่ม โดยมีอาจารย์ประจำกลุ่มเป็นที่ปรึกษา
    - นักศึกษาเขียนรายงานเป็นรายกลุ่ม
    - อาจารย์บรรยายสรุปเนื้อหา/ผลการทดลอง/อภิปรายผลการทดลอง หลังจากตรวจรายงานแล้ว
    2) การจัดสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษา ประมาณ 1 : 8 คน (แบ่งเป็นกลุ่มย่อย)
    3) นักศึกษาในกลุ่มแบ่งบทบาทและหน้าที่ในการทำงานอย่างชัดเจน
    3.2 การจัดตารางเวลาเรียน
    1) การปฏิบัติการครั้งละ 3-4 ชั่วโมงต่อปฏิบัติการ
    2) การปฏิบัติการมีการจัดไว้จำนวน 2-3 ครั้งต่อรายวิชา 1 หน่วยวิชา [1(3-3-8)]
    3.3 การวัดและประเมินผล
    1) การวัดผล (8% ของคะแนนทั้งรายวิชา)
    1.1) กระบวนการ (Process) ประกอบไปด้วยการเข้าเรียนปฏิบัติการ การมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม การมีส่วนร่วมในการอภิปราย คิดเป็นสัดส่วน 4% ของคะแนนทั้งรายวิชา
    1.2) ผลผลิต (Product) การสอบปฏิบัติการ คิดเป็นสัดส่วน 4% ของคะแนนทั้งรายวิชา
    2) การประเมินผล
    ใช้คะแนนที่ได้จากการวัดผล ไปรวมกับคะแนนส่วนที่เหลือในรายวิชานั้นๆ เพื่อประเมินผลออกมาเป็นเกรด
    หมายเหตุ ได้รับข้อมูลการจัดการเรียนการสอนแบบปฏิบัติการ

    ศาสตราจารย์ ดร.ธีระยุทธ กลิ่นสุคนธ์
    อาจารย์ ดร.รพีพร ขวัญเชื้อ



    แนวปฏิบัติ กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
    การเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยปัญหาพิเศษ (Special Problem)

    กรณีรายวิชาปัญหาพิเศษ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
    1. ลักษณะการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยปัญหาพิเศษ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    AAP-481 Special Problems 1(0-0-12) เป็นรายวิชาศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองใช้เวลาสัปดาห์ละ 12 ชั่วโมง คำอธิบายรายวิชา "ค้นคว้าประกอบการทดลองด้วยตนเองในหัวข้อที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำ โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและเรียบเรียงผลการศึกษาตามแบบมาตรฐานของงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ นำเสนอผลงานในที่ประชุม" มีขั้นตอนการศึกษาดังนี้
    (1) นักศึกษาเลือกหัวข้อศึกษาตามความสนใจ หรือเลือกตามหัวข้อที่กำหนดให้ (หนึ่งหัวข้อมีสมาชิก 1-3 คน)
    (2) นักศึกษาเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในหัวข้อนั้น ๆ อาจารย์ที่ปรึกษาหนึ่งคนไม่ควรรับเป็นที่ปรึกษามากว่า 3 หัวข้อ/โครงการ
    (3) นักศึกษาเขียนข้อเสนอโครงการตามแบบที่สำนักวิชากำหนด โดยมีรายละเอียดของเนื้อหาตามคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา และเสนอขอความเห็นชอบจากกรรมการสำนักวิชาก่อนลงมือทำการทดลองงานวิจัย
    (4) นักศึกษาดำเนินทดลอง วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล เขียนรายงานและนำเสนอผลงานทดลองในที่ประชุม
    2. การเตรียมความพร้อมการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยปัญหาพิเศษ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    2.1 การเตรียมความพร้อมของอาจารย์
    - อาจารย์ในสาขาวิชาจัดหาหัวข้องานทดลองและแจ้งผู้ประสางานหลักสูตรเพื่อประกาศให้นักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 ทราบโดยทั่วกัน
    - ผู้ประสานงานหลักสูตรชี้แจงให้อาจารย์ที่ปรึกษาทราบเกี่ยวกับระเบียบวิธีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของรายวิชา เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป็นไปในทางเดียวกัน
    2.2 การเตรียมความพร้อมของนักศึกษา
    - ชี้แจงวัตถุประสงค์ และวิธีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของรายวิชา
    - ชี้แจงระเบียบวิธีปฏิบัติงานตามศาสตร์ของรายวิชา ระเบียบการใช้งานของห้องปฏิบัติการ และการใช้เครื่องมือทดลองงานวิจัย ข้อพึงปฏิบัติในการใช้ของสาธารณะ การใช้ทรัพยากรห้องทดลอง ผลกระทบของงานทดลองต่อสิ่งแวดล้อม จรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลอง ระบบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ และวิธีการทำงานร่วมกัน
    - แนะนำให้นักศึกทำความเข้าใจระบบสารนทเทศงานวิจัยของมหาวิทยาลัย
    2.3 การเตรียมความพร้อมของสื่อการเรียนการสอน
    - สำรวจแหล่งข้อมูลจากระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ทำรายการเอกสารอ้างอิงหลักทีเกี่ยวก้องกับหัวข้อศึกษา
    - จัดหาเครื่องมือสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
    - จัดหาอุปกรณ์สำหรับการทดลองงานวิจัย
    3. การเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยปัญหาพิเศษ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    3.1 กระบวนการเรียนการสอน
    นักศึกษาลงมือเรียนรู้ด้วยตนเองโดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำในกระบวนการต่อไปนี้
    - วิธีการสืบค้นข้อมูล
    - การทดลองการวิจัย
    - วิเคราะห์ผลการทดลอง
    - เขียนรายงานผลการทดลอง
    - การจัดเตรียมการนำเสนอผลการทดลองในที่ประชุม
    3.2 การจัดตารางเวลาเรียน
    - นักศึกษาจัดเตรียมเอกสารการเรียนด้วยตนเอง (ทำนอกเวลา) โดยจัดให้เข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาสัปดาห์ละครั้งในห้องทำงานของอาจารย์หรือห้องทอลองงานวิจัย
    - ขณะทำงานทดลอง นักศึกษาขอเข้ารับคำปรึกษาได้บ่อยครั้งเท่าที่ต้องการ ตามกาลเทศะ
    3.3 การวัดและประเมินผล
    ผลสำฤทธิ์ของรายวิชา
    (1) คุณภาพผลงานตามศาสตร์ของรายวิชา คือ ความสำเร็จตามแผนงาน ความถูกต้องของวิธีปฏิบัติงานทดลอง วิธีการเก็บข้อมูล ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้อธิบายเหตุการณ์ได้ ความถูกต้องของรายงานการทดลองตามระเบียบวิธีวิจัย
    (2) ทักษะการคิดวิเคราะห์ในเชิงตัวเลข คือความสามารถในการจัดระบบและแจกแจงข้อมูล การอธิบายความหมายของข้อมูล การวิเคราะห์ความแตกต่าง และการสังเคราะห์ให้ได้สิ่งใหม่
    (3) ทักษะการทำงาน คือความมีมนุษย์สัมพันธ์ ความอดทนอดกลั้น ความมีสำนึกสาธารณะ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ที่ส่งผลให้การทำงานสำเร็จลุล่วงไปได้
    (4) ทักษะการสื่อสาร คือความสามารถในการอธิบายความ ตั้งคำถาม จับประเด็นคำถาม แสดงความคิดเห็น ขอความคิดเห็น ขอคำชี้แจง
    (5) ทักษะทางด้านสารสนเทศ คือความสามารถในการใช้เครื่องมือสืบค้นข้อมูล ความรอบรู้เกี่ยวกับแหล่งข้อมูล
    วิธีการประเมิน
    (1) ความถูกต้องกระบวนการทดลอง และรายงานการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัย 35%
    (2) ความถูกต้องของการแจกแจงข้อมูล การวิเคราะห์ และการอธิบายความหมาย 20%
    (3) วิธีการทำงานโดยสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำงาน และสอบถามผู้ร่วมงาน 10%
    (4) วิธีการการนำเสนอผลงาน 25%
    (5) ความครอบคลุมและเหมาะสมของเอกสารอ้างอิงที่ใช้ในรายงานการวิจัย 10%

    หมายเหตุ ได้รับข้อมูลการจัดการเรียนการสอนด้วยปัญหาพิเศษ
    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยะพงค์ โชติพันธุ์ สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร



    แนวปฏิบัติ กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
    การเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยโครงงาน (Senior-Project)

    กรณีรายวิชาภาคนิพนธ์ หลักสูตรเทคนิคการแพทย์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์
    1. ลักษณะการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยโครงงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    นักศึกษาคิดและดำเนินการจัดทำหัวข้องานวิจัยในขอบเขตที่อาจารย์ที่ปรึกษากำหนด
    2. การเตรียมความพร้อมการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยโครงงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    2.1 การเตรียมความพร้อมของอาจารย์
    เตรียมความพร้อมในด้านจำนวนอาจารย์ ขอบเขตและงานกรอบระยะเวลาที่อาจารย์ต้องรับผิดชอบเมื่อรับเป็นที่ปรึกษา เกณฑ์การประเมินผล จำนวนนักศึกษา
    2.2 การเตรียมความพร้อมของนักศึกษา
  • บรรยายการเขียนโครงร่างและแนวการคิดโจทย์วิจัยโดยผู้ประสานงานรายวิชา
  • การอ่านวารสารภาษาต่างประเทศในรายวิชาสัมมนาเป็นการทำ Literature review เบื้องต้นในการนำไปเขียนโครงร่าง
  • 2.3 การเตรียมความพร้อมของสื่อการเรียนการสอน
  • การบรรยายโดยใช้ power point, คู่มือประกอบรายวิชาภาคนิพนธ์
  • 3. การเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยโครงงาน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    3.1 กระบวนการเรียนการสอน
    1) ให้นักศึกษาติดต่อหาอาจารย์ที่ปรึกษาตามความสมัครใจและความสนใจในสาขาต่างๆ ได้แก่ จุลชีววิทยา ภูมิคุ้มกันวิทยา โลหิตวิทยา ปรสิตวิทยา เคมีคลินิก
    2) นักศึกษาคิดโจทย์วิจัยมานำเสนออาจารย์ อาจารย์พิจารณาความยากง่ายความและเป็นไปได้ของงานวิจัยหากเรื่องที่นักศึกษาเสนอมาไม่เหมาะสม อาจารย์อาจให้คำแนะนำงานวิจัยที่สอดคล้องกับความถนัดของอาจารย์แต่ละด้าน
    3) นักศึกษาทำโครงงานเป็นกลุ่ม ๆละ 3 คน อาจารย์ 1 ท่านรับนักศึกษาไม่เกิน 3 กลุ่ม .ในแต่ละกลุ่มต้องแต่งตั้งอาจารย์อีกจำนวน 3 ท่านเพื่อเป็นกรรมการสอบโครงร่าง สอบความก้าวหน้าและสอบป้องกันโดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นประธานการสอบ
    4) ภาคการศึกษาที่ 3 (ชั้นปีที่ 3) นักศึกษาพัฒนาโครงร่างวิจัย (proposal) และสอบโครงร่างงานวิจัย
    5) ปลายภาคการศึกษาที่ 3-ภาคฤดูร้อน ส่งความต้องการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือต่อนักวิทยาศาสตร์ ศคว. จัดเตรียมและจัดซื้อ
    6) ภาคการศึกษาที่ 2 (ชั้นปีที่ 4 หลังกลับจากสหกิจศึกษา) นักศึกษาดำเนินการวิจัย
    7) กลางภาคการศึกษาที่ 2 สอบปากเปล่าความก้าวหน้า (Progress) และสอบป้องกัน (defense) ในตอนปลายภาค .ในการสอบจะมีแบบประเมินผลที่มีรูปแบบชัดเจนในการให้คะแนน แต่ละด้าน
    8) นักศึกษาจะต้องจัดทำรูปเล่มและส่งเล่มรายงานภาคนิพนธ์ ซึ่งประกอบด้วย Introduction, literature review, material and method, result, discussion and conclusion, references และส่งรูปเล่มที่แก้ไขแล้วภายใน 7 วัน
    3.2 การจัดตารางเวลาเรียน
    0.5 (0-6-3) บรรยาย หนึ่งครั้ง ปฏิบัติการ 72 ชั่วโมง
    3.3 การวัดและประเมินผล
    คะแนนสอบโครงร่าง 25%
    คะแนนนำเสนอความก้าวหน้า 10%
    คะแนนสอบป้องกัน 60%
    คะแนนเพื่อนประเมินเพื่อน 5%
    ประเมินผลโดยใช้คะแนนที่ได้และตัดเกรดจากคะแนนรวมทั้งหมด

    หมายเหตุ ได้รับข้อมูลการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน
    ดร.จิราพร เจริญพูล สำนักวิชาสหเวชศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์



    แนวปฏิบัติ กระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
    การเรียนการสอนแบบภาคสนาม (Field Work)

    กรณีรายวิชาตัวอย่างของสำนักวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร (หลักสูตรการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง)
    1. ลักษณะการเรียนการสอนแบบภาคสนาม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    อาจารย์พานักศึกษาไปดูสถานที่จริง เช่น สภาพพื้นที่ดินแบบต่างๆ ชายฝั่งอันดามันและอ่าวไทย ชั้นหินชั้นดิน ฯลฯ และมีการบรรยายควบคู่กันไป
    2. การเตรียมความพร้อมการเรียนการสอนแบบภาคสนาม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    2.1 การเตรียมความพร้อมของอาจารย์
    2.2 การเตรียมความพร้อมของนักศึกษา อาจารย์ชี้แจงให้ความรู้แก่นักศึกษาเกี่ยวกับสภาพพื้นที่จริงที่จะไปศึกษาดูงาน
    2.3 การเตรียมความพร้อมของสื่อ ก่อนออกพื้นที่ จัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น เข็มทิศ เครื่องวัดคุณภาพน้ำ ฯลฯ
    3. การเรียนการสอนแบบการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    3.1 กระบวนการเรียนการสอน
  • อาจารย์พานักศึกษาไปดูงานนอกสถานที่ โดยแบ่งกลุ่มนักศึกษา และมอบหมายให้รับผิดชอบในหัวข้อต่างๆ ตามที่อาจารย์กำหนด และกลับมานำเสนอ เขียนรายงานบุคคลหรือรายงานกลุ่ม ต่ออาจารย์ในชั้นเรียน นอกจากนี้มีการนำรูปแบบการใช้ปัญหาเป็นฐาน (1วัน 1ปัญหา: 1day 1 problem ) เข้ามาผสมผสานในการเรียนการสอน
  • การจัดสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษา เนื่องด้วยมีอาจารย์ผู้สอนคนเดียวไมได้กำหนดสัดส่วนตายตัว
  • นักศึกษาร่วมกันทำงาน ไม่ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของนักศึกษาอย่างชัดเจน(ให้นักศึกษาแบ่งหน้าที่กันเองโดยมีนักศึกษาที่แต่งตั้งให้เป็นประธานของวิชานั้นกำกับดูแล) และให้มีการทำรายงานและนำเสนอเป็นกลุ่ม ทั้งนี้นักศึกษาต้องรู้รายละเอียดและข้อมูลที่กลุ่มเพื่อนนำมารายงาน เพราะเนื้อหาของการนำเสนอนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งของการออกข้อสอบ
  • 3.2 การจัดตารางเวลาเรียน
    การจัดเวลาเรียนภาคสนามจะเป็นวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ ในภาคเรียนนั้น เนื่องจากจะต้องใช้เวลาตั้งแต่ 8 ถึง 48 ชั่วโมง
    3.3 การวัดและประเมินผล
    1) การวัดผล
    1.1) กระบวนการ (Process) 30% ของคะแนนทั้งรายวิชา
  • มีส่วนร่วมในชั้นเรียน 10 %
  • นำเสนองานในชั้นเรียน 10 %
  • การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน 10 % (หน่วยวิชา 0.5 มีโจทย์ปัญหา 1 โจทย์ และ หน่วยวิชา 1.0 มีโจทย์ปัญหา 2 โจทย์ปัญหา)
  • 1.2) ผลผลิต (Product) โดย 70 % ของคะแนนทั้งรายวิชา
  • การสอบกลางภาค 30 %
  • การสอบปลายภาค 30 %
  • รายงานกลุ่ม 10 %
  • 2) การประเมินผล
    โดยใช้คะแนนที่ได้จากการวัดผล นำไปรวมกับคะแนนส่วนที่เหลือในรายวิชานั้นๆ เพื่อประเมินผลออกมาเป็นเกรด
    หมายเหตุ ได้รับข้อมูลการจัดการเรียนการสอนแบบภาคสนาม
    พล ต.ดร.นพรัตน์ เศรษฐกุล สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และทรัพยากร


    Top