รายละเอียดการดำเนินการปรับปรุง/เปิดหลักสูตร

รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง ปีการศึกษา 2567)

รหัสหลักสูตร 25620231100095
ชื่อหลักสูตร ภาษาไทย : รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง ปีการศึกษา 2567)
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Public Administration Program (Revised B.E.2024)
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา ชื่อเต็ม(ภาษาไทย) : รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
ชื่อย่อ(ภาษาไทย) : รป.บ.

ชื่อเต็ม(ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Public Administration
ชื่อย่อ(ภาษาอังกฤษ) : B.P.A.
เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 2565
ปรับปรุงมาจาก รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)
แนวทางในการประกอบวิชาชีพ

อาชีพ

ลักษณะงาน (Job Description)

1.เจ้าพนักงานปกครองปฏิบัติการ (ปลัดอำเภอ)

ศึกษาและวิเคราะห์เพื่อเสนอแนะนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ และแนวทางการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบงานให้มีประสิทธิภาพ ตรวจสอบและปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายในประเทศ ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายรวมถึงรับผิดชอบด้านการวางแผน อาทิ การวางแผนการทำงานที่รับผิดชอบเพื่อให้คำนึงถึงเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการ การร่วมดำเนินการวางแผนงานทำงานของหน่วยงานหรือโครงการเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย ลักษณะงานยังรวมถึงความรับผิดชอบด้านการประสานงาน เช่น การประสานงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน และการเพิ่มความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ในการทำงานตามที่กำหนด อาชีพนี้ยังรวมถึงความรับผิดชอบด้านการบริการ อาทิ การให้บริการเกี่ยวกับภารกิจของกรมการปกครอง การเผยแพร่ข้อมูลด้านการเมืองและการปกครองการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว และการปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

2. เจ้าพนักงานปกครองส่วนท้องถิ่น

 

ปฏิบัติงานด้านการบริหารและวางแผน เช่น การวางแผนและจัดการกิจกรรมต่างๆ ในระดับท้องถิ่นเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาท้องถิ่น และสนับสนุนการดำเนินงานในด้านการบริหารท้องถิ่นเช่น การเร่งด่วนการแก้ไขปัญหา การปรับปรุงกระบวนการ เป็นต้น อาชีพนี้จำเป็นที่จะต้องดูแลและควบคุมการให้บริการพื้นที่สาธารณะ เช่น การบริหารจัดการสวนสาธารณะ การรักษาความสะอาด การจัดการซ่อมแซมสาธารณะ เป็นต้น ควบคุมและจัดการการให้บริการพื้นที่ในการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับนโยบายปกครองส่วนท้องถิ่น ภาระหน้าที่ที่รับผิดชอบของอาชีพนี้รวมถึงการสนับสนุนและบริการประชาชน ให้บริการคำแนะนำและข้อมูลให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับนโยบาย กฎหมาย และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อให้การบริการเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ และรับผิดชอบถึงกระบวนการการบริหารการเงินและงบประมาณ และการประเมินผลและรายงาน อาทิ ประเมินผลกิจกรรมและโครงการต่างๆ ในระดับท้องถิ่นและรายงานผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานการประเมินผลต่างๆ เพื่อให้ข้อมูลสำหรับการวางแผนและการปรับปรุง

3. นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

 

ดำเนินกระบวนการการวิเคราะห์นโยบายและแผนวิเคราะห์แนวโน้มและข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาและปรับปรุงนโยบายที่มีอยู่และแผนการดำเนินงานในองค์ก ประเมินผลกระบวนการและผลสัมฤทธิ์ของนโยบายและแผน เพื่อเสนอข้อแนะนำในการปรับปรุง รวมถึงการพัฒนานโยบายร่วมกับทีมในการวางแผนและพัฒนานโยบายที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และยุทธศาสตร์ขององค์กร การสำรวจและการวิเคราะห์ข้อมูล เตรียมเอกสารสำหรับการประชุมและการนำเสนอเรื่องนโยบายและแผน และที่สำคัญคือหน้าที่ในการการติดตามและประเมินผลกระบวนการและผลสัมฤทธิ์เพื่อให้ข้อมูลสำหรับการปรับปรุง รวมถึงหน้าที่ในการสื่อสารและการทำงานร่วมกับทีมผู้บริหารและหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแนวทางที่กำหนด

4. นักทรัพยากรบุคคล

ปฏิบัติงานในขอบข่ายของกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลโดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งงานและองค์การด้วย รับผิดชอบด้านการจัดการข้อมูลบุคคล อัตราค่าตอบแทบและสวัสดิการที่ประสิทธิภาพ วางแผนพัฒนาบุคคลเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มศักยภาพรายบุคคลและระดับองค์การ ให้คำปรึกษาและแนะนำในการกำหนดเป้าหมายและแผนการพัฒนาส่วนบุคคล บริหารความสัมพันธ์ในองค์กร โดยสนับสนุนและสร้างความร่วมมือในการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในองค์กร แก้ไขและจัดการข้อขัดแย้งหรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรบุคคลในองค์กร รวมถึงรับผิดชอบในกระบวนการประเมินผลและพัฒนาความเป็นเลิศ โดยจัดทำและดำเนินการในกระบวนการประเมินผลและการติดตามการประสบความสำเร็จของการพัฒนาทรัพยากรบุคคล รวมถึงวางแผนและดำเนินการในการพัฒนาการเรียนรู้และการเติบโตของทรัพยากรบุคคลในองค์กร

5. นักพัฒนาชุมชน

ศึกษา วิเคราะห์วิจัยด้านพัฒนาชุมชน เพื่อจัดทำแผนงาน สนับสนุนการรวมกลุ่มของประชาชน ในชุมชนประเภทต่าง ๆ รวมถึงแสวงหาและพัฒนาศักยภาพของผู้นำชุมชน กลุ่ม องค์กร และเครือข่ายองค์กร ประชาชน การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหาร จัดการชุมชน ตลอดจนการพัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็ง สมดุลและมั่นคงของเศรษฐกิจชุมชนระดับฐานราก รวมทั้งในการพัฒนารูปแบบ วิธีการพัฒนาชุมชนให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่  วิเคราะห์ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในงานพัฒนาชุมชน เพื่อหาแนวทางป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาชุมชน และระบบสารสนเทศ ชุมชน เพื่อกำหนดนโยบาย แผนงาน ตลอดจนกำหนดแนวทางหรือวางแผนการพัฒนาในทุกระดับ  เพื่อให้ประชาชนในชุมชนสามารถจัดทำแผนชุมชน รวมทั้งวิเคราะห์ ตัดสินใจ และดำเนินการร่วมกัน เพื่อแก้ไข ปัญหา ความต้องการของตนเอง และชุมชนได้ตลอดจนเป็นที่ปรึกษาในการดำเนินงานพัฒนาชุมชน

ปีที่สภามวล. อนุมัติ 2566
ภาค/ปีที่เปิดสอน 1/2567
ปี ที่ต้องประเมิน/ปรับปรุงให้แล้วเสร็จ 2571
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
รายชื่อผู้รับผิดชอบหลักสูตร (ตามเล่มรายละเอียดของหลักสูตร) รายชื่อผู้รับผิดชอบหลักสูตร (ล่าสุด)

1. ผศ.ดร.สมจินตนา   คุ้มภัย
2. ผศ.ดร.ทัศนียา บริพิศ
3. ผศ.ดร.เขมมารี รักษ์ชูชีพ 
4. ผศ.ดร.นันธิดา จันทร์ศิริ
5. ผศ.ดร.อาภาภรณ์ สุขหอม

1. ผศ.ดร.สมจินตนา   คุ้มภัย
2. ผศ.ดร.ทัศนียา บริพิศ
3. ผศ.ดร.เขมมารี รักษ์ชูชีพ 
4. ผศ.ดร.นันธิดา จันทร์ศิริ
5. ผศ.ดร.อาภาภรณ์ สุขหอม

รายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร
รายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร (ตามเล่มรายละเอียดของหลักสูตร) รายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร (ล่าสุด)

1. ผศ.ดร.สมจินตนา คุ้มภัย
2. ผศ.ดร.ทัศนียา บริพิศ
3. ผศ.ดร.เขมมารี รักษ์ชูชีพ 
4. ผศ.ดร.นันธิดา จันทร์ศิริ
5. ผศ.ดร.อาภาภรณ์ สุขหอม
6. รศ.ดร.กิจฐเชต ไกรวาส
7. ผศ.ดร.รัชฎาทิพย์ อุปถัมภ์ประชา
8. อาจารย์ ดร.กฤติยา อนุวงศ์
9. อาจารย์พีรศุษม์ บุญแก้วสุข
10. อาจารย์พชรพงษ์ คำจำปา

1. ผศ.ดร.สมจินตนา คุ้มภัย
2. ผศ.ดร.ทัศนียา บริพิศ
3. ผศ.ดร.เขมมารี รักษ์ชูชีพ 
4. ผศ.ดร.นันธิดา จันทร์ศิริ
5. ผศ.ดร.อาภาภรณ์ สุขหอม
6. รศ.ดร.กิจฐเชต ไกรวาส
7. ผศ.ดร.รัชฎาทิพย์ อุปถัมภ์ประชา
8. อาจารย์ ดร.กฤติยา อนุวงศ์
9. อาจารย์พีรศุษม์ บุญแก้วสุข
10. อาจารย์พชรพงษ์ คำจำปา

การพิจารณาโดยคณะกรรมการประจำสำนักวิชา ประชุมครั้งที่/ปี : 29/2566 วันที่ : 3 พฤศจิกายน 2566
การพิจารณาโดยคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ประชุมครั้งที่/ปี : -
การพิจารณาโดยคณะกรรมการสภาวิชาการ ประชุมครั้งที่/ปี : ครั้งพิเศษที่ 5/2566 วันที่ : 20 พฤศจิกายน 2566
การพิจารณาโดยคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ประชุมครั้งที่/ปี : 11/2566 วันที่ : 9 ธันวาคม 2566
การรับรองคุณวุฒิจาก สป.อว. วันที่เริ่มกระบวนการปัจจุบัน : 28 ธันวาคม 2566
วันที่ครบกำหนดรับทราบ : 12 มกราคม 2567
สถานะการพิจาณาโดย สป.อว. : S/1 ส่งไป สป.อว. เมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2566
การรับรองคุณวุฒิจาก กคศ.
การรับรองคุณวุฒิจาก กพ.
แบบรายงานการพิจารณาอนุมัติหลักสูตร

หมายเหตุ สถานะการพิจาณาโดย สป.อว.
1. W=รอส่งจากสำนักวิชา
2. W1=ส่งไประดับมหาวิทยาลัย
3. S/ครั้งที่(Date) = ส่งไป สป.อว. แล้ว (เมื่อวันที่)
4. E/ครั้งที่(date) = ส่งให้มหาวิทยาลัยแก้ไข
5. A1/ครั้งที่(date) = หัวหน้าฝ่าย (ตรวจสอบ)
6. A2/ครั้งที่(date) = ผู้อำนวยการกลุ่ม (ตรวจสอบ)
7. A3/ครั้งที่(date) = ผู้อำนวยการสำนัก (ตรวจสอบ)
8. A4/ครั้งที่(date) = รองเลขาธิการ (ตรวจสอบ)
9. P/1 = พิจารณาความสอดคล้องและออกรหัสหลักสูตรเรียบร้อยแล้ว
Top