รายละเอียดการดำเนินการปรับปรุง/เปิดหลักสูตร

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอินเทอร์แอคทีฟมัลติมีเดีย แอนิเมชัน และเกม (หลักสูตรปรับปรุง ปีการศึกษา 2567)

เล่มรายละเอียดของหลักสูตร ดาวน์โหลด เล่มรายละเอียดของหลักสูตร ฉบับรับรองจาก สภามวล.
ประวัติการปรับปรุงหลักสูตรแบบไม่กระทบโครงสร้าง ดูข้อมูล
รหัสหลักสูตร 25500231105298
ชื่อหลักสูตร ภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอินเทอร์แอคทีฟมัลติมีเดีย แอนิเมชัน และเกม (หลักสูตรปรับปรุง ปีการศึกษา 2567)
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Interactive Multimedia, Animation, and Game (Revised B.E.2024)
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา ชื่อเต็ม(ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (อินเทอร์แอคทีฟมัลติมีเดีย แอนิเมชัน และเกม)
ชื่อย่อ(ภาษาไทย) : วท.บ. (อินเทอร์แอคทีฟมัลติมีเดีย แอนิเมชัน และเกม)

ชื่อเต็ม(ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Science (Interactive Multimedia, Animation, and Game)
ชื่อย่อ(ภาษาอังกฤษ) : B.Sc. (Interactive Multimedia, Animation, and Game)
เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 2565
ปรับปรุงมาจาก วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย แอนิเมชัน และเกม (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562)
แนวทางในการประกอบวิชาชีพ

อาชีพ

ลักษณะงาน (Job Description)

1. 3D Model Artist 

ทำหน้าที่สร้างโมเดล 3 มิติโดยใช้ซอฟต์แวร์ 3 มิติเพื่อสร้างสิ่งของหรือตัวละครตามที่กำหนด

2. 3D Animator

ทำหน้าที่สร้างการเคลื่อนไหวให้กับโมเดล 3 มิติผ่านการใช้ซอฟต์แวร์แอนิเมชัน เพื่อสร้างภาพเคลื่อนไหวที่สมจริงและสื่อถึงเรื่องราว

3. 3D Rigger

ทำหน้าที่สร้างโครงสร้างในการโมเดล 3 มิติ เพื่อให้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้องและสมจริง รวมถึงจัดการการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนรูปร่างของตัวละครหรือวัตถุ

4. 3D Generalist

ทำหน้าที่แก้ปัญหาโดยทั่วไปของงาน 3 มิติในการผลิตสื่ออินเทอร์แอคทีฟมัลติมีเดีย แอนิเมชัน หรือเกม มีความรู้ทั่วไปในการทำโมเดล แอนิเมชัน การออกแบบตัวละคร และอื่นๆ เป็นผู้ที่สามารถรับผิดชอบได้หลายหน้าที่ในกระบวนการผลิตสื่อ 3 มิติ

5. Illustrator

ศิลปินวาดภาพประกอบหรือภาพวาดที่ใช้ในสื่อดิจิทัลคอนเทนต์ต่างๆ เพื่อสร้างภาพที่สื่อความหมายและแสดงอารมณ์ตามคำอธิบายหรือแนวคิดที่กำหนด

6. Concept Artist

ศิลปินที่สร้างแนวคิดและร่างแบบเริ่มต้นของตัวละคร สถานที่ วัตถุ หรือสิ่งที่ใช้ในสื่อบันเทิง เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรูปแบบและความคิดเชิงสร้างสรรค์ ทำหน้าที่ออกแบบงานออกแบบต่างๆ ในขั้นตอน Pre-Production

7. Storyboard Artist

ศิลปินที่สร้างภาพเรื่องราวของฉากหรือภาพนิ่งที่เป็นตัวอย่างในการกำหนดฉากและการเคลื่อนไหวในการผลิตสื่ออินเทอร์แอคทีฟมัลติมีเดีย แอนิเมชัน หรือเกม

8. Comic Artist

ศิลปินที่สร้างการ์ตูนหรือหนังสือการ์ตูน ทำงานเพื่อสร้างรูปแบบการเล่าเรื่องที่ประกอบด้วยภาพและข้อความ เพื่อสร้างความเข้าใจและความตื่นเต้นให้กับผู้อ่าน

9. Character Designer

นักออกแบบตัวละครที่สร้างและพัฒนาตัวละครใหม่ รวมถึงการออกแบบรูปทรง สี และลักษณะที่แสดงออกเกี่ยวกับตัวละคร เพื่อใช้ในสื่ออินเทอร์แอคทีฟมัลติมีเดีย แอนิเมชัน หรือเกม

10. 2D Animator

นักสร้างแอนิเมชัน 2 มิติที่ใช้การวาดและสร้างภาพเคลื่อนไหวให้กับภาพ 2 มิติ โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างภาพเคลื่อนไหวที่สร้างความรู้สึกและเรื่องราว

11. Game Programmer 

นักพัฒนาโปรแกรมเกมที่พัฒนาระบบต่างๆ ในเกม รวมถึงการเขียนโค้ด ออกแบบโครงสร้างข้อมูล และการทดสอบเพื่อให้เกมทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพตามการออกแบบเกมที่กำหนด

12. Game Designer

นักออกแบบเกมที่รับผิดชอบในการสร้างแนวคิด, กฎเกม, และระบบเกม รวมถึงการวางแผนระดับระบบและระดับรายละเอียดของเกมเพื่อให้มีประสบการณ์เล่นเกมที่น่าสนใจและมีความท้าทาย

13. Game Artist 

ศิลปินที่รับผิดชอบในการสร้างภาพและกราฟิกที่ใช้ในเกม รวมถึงภาพพื้นหลัง ตัวละคร วัตถุ และอินเตอร์เฟซในเกม เพื่อสร้างความเป็นเอกลักษณ์และสร้างประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นให้กับผู้เล่น

14. Graphic Designer

นักออกแบบกราฟิกที่รับผิดชอบในการสร้างงานศิลปะกราฟิกในรูปแบบต่างๆ เช่น โลโก้ กราฟิกบนเว็บ และงานพิมพ์ต่างๆ เพื่อสร้างภาพลักษณ์และสื่อสารให้กับผู้ชมหรือผู้ใช้

15. UX/UI Designer

นักออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้และอินเตอร์เฟซที่รับผิดชอบในการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้และการจัดวางอินเตอร์เฟซในเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน เพื่อสร้างประสบการณ์การใช้งานที่มีประสิทธิภาพและเข้าใจง่ายให้กับผู้ใช้

16. อื่นๆ

ทำอาชีพต่างๆ ที่ต้องการความสามารถในด้านอินเทอร์แอคทีฟมัลติมีเดีย แอนิเมชัน หรือเกม เช่น ครู อาจารย์ นักวิชาการ เจ้าหน้าที่สื่อ เจ้าของกิจการที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ

ปีที่สภามวล. อนุมัติ 2566
ภาค/ปีที่เปิดสอน 1/2567
ภาค/ปี ที่ต้องประเมิน/ปรับปรุงให้แล้วเสร็จ 2571
รายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร
รายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร (เดิม) รายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตรปัจจุบัน

1. ผศ.ดร.เชาวนันท์ ขุนดำ
2. ผศ.ดร.วรัญญู วรชาติ
3. อาจารย์ ดร.วิทยา หอทรัพย์
4. ผศ.ดร.กาญจน์นัฐฐา ไชยศรียา
5 . อาจารย์ ดร.ศศิธร รัตนรุ่งโรจน์
6. อาจารย์ ดร.พรพล ธรรมรงค์รัตน์
7. ผศ.วาลุกา เอมเอก
8. อาจารย์ปฏิบัติ ปรียาวงศากุล

1. ผศ.ดร.เชาวนันท์ ขุนดำ
2. ผศ.ดร.วรัญญู วรชาติ
3. อาจารย์ ดร.วิทยา หอทรัพย์
4. ผศ.ดร.กาญจน์นัฐฐา ไชยศรียา
5 . อาจารย์ ดร.ศศิธร รัตนรุ่งโรจน์
6. อาจารย์ ดร.พรพล ธรรมรงค์รัตน์
7. ผศ.วาลุกา เอมเอก
8. อาจารย์ปฏิบัติ ปรียาวงศากุล

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
รายชื่อผู้รับผิดชอบหลักสูตร (เดิม) รายชื่อผู้รับผิดชอบหลักสูตร (ล่าสุด)

วิชาเอกแอนิเมชัน
1. ผศ.ดร.เชาวนันท์ ขุนดำ
2. ผศ.ดร.วรัญญู วรชาติ
3. อาจารย์ ดร.วิทยา หอทรัพย์
วิชาเอกดิจิทัลเกม
1. ผศ.ดร.กาญจน์นัฐฐา ไชยศรียา
2 . อาจารย์ ดร.ศศิธร รัตนรุ่งโรจน์
3. อาจารย์ ดร.พรพล ธรรมรงค์รัตน์

วิชาเอกแอนิเมชัน
1. ผศ.ดร.เชาวนันท์ ขุนดำ
2. ผศ.ดร.วรัญญู วรชาติ
3. อาจารย์ ดร.วิทยา หอทรัพย์
วิชาเอกดิจิทัลเกม
1. ผศ.ดร.กาญจน์นัฐฐา ไชยศรียา
2 . อาจารย์ ดร.ศศิธร รัตนรุ่งโรจน์
3. อาจารย์ ดร.พรพล ธรรมรงค์รัตน์

การพิจารณาโดยคณะกรรมการประจำสำนักวิชา ประชุมครั้งที่/ปี : 18/2566 วันที่ : 26 มิถุนายน 2567
การพิจารณาโดยคณะกรรมการวิชาการ ประชุมครั้งที่/ปี : -
การพิจารณาโดยคณะกรรมการสภาวิชาการ ประชุมครั้งที่/ปี : ครั้งพิเศษที่ 5/2566 วันที่ : 20 พฤศจิกายน 2566
การพิจารณาโดยคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ประชุมครั้งที่/ปี : 11/2566 วันที่ : 9 ธันวาคม 2566
เล่มรายละเอียดของหลักสูตร ฉบับผ่านคณะกรรมการสภา มวล. : -
การรับรองคุณวุฒิจาก สกอ. วันที่ส่ง เล่มรายละเอียดของหลักสูตร ให้ สป.อว. รับทราบ : 31 ธันวาคม 2566
ตามหนังสือ :
วันที่ครบกำหนดรับทราบ : 15 มกราคม 2567
สถานะของการรับทราบหลักสูตรจาก สป.อว. ปัจจุบัน : S/1 ส่งไป สป.อว. เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2566
เล่มรายละเอียดของหลักสูตร ฉบับผ่าน สป.อว. รับทราบ :
การรับรองคุณวุฒิจาก กคศ.
การรับรองคุณวุฒิจาก กพ.
แบบรายงานการพิจารณาอนุมัติหลักสูตร

Top