ขอเชิญชวนส่งผลงานเข้าร่วมการประชุมวิชาการ การเรียนรู้เชิงรุกครั้งที่ 6 ภายใต้หัวข้อ Active Learning ตอบโจทย์ Thailand 4.0 อย่างไร

การประชุมวิชาการการเรียนรู้เชิงรุกระดับชาติ ครั้งที่ 6 จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาจารย์ นักวิจัยและนักวิชาการการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรู้เชิงรุกและนำความรู้และประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมเพื่อให้อาจารย์ นักวิจัยและนักวิชาการการศึกษาได้ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการทางด้านการศึกษาเพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการระหว่างอาจารย์ นักวิจัยและนักวิชาการการศึกษาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

วัน และสถานที่การจัดประชุม
วันจันทร์ที่ 26 – วันอังคารที่ 27 มีนาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

เนื้อหาของงานประชุมวิชาการ
Teaching and Learning
การเรียนรู้จากกรณีปัญหา (Case-based Learning)
การเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Individual Study)
การเรียนรู้แบบสรรคนิยม (Constructivism)
การเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง (Self-Study)
การเรียนรู้จากการทำงาน (Work-based Learning)
การเรียนรู้ที่เน้นการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ (Research-based Learning)
การเรียนรู้ที่ใช้วิธีการสร้างผลงานจากการตกผลึกทางปัญญา (Crystal-based Approach)

Education in the Changing World
1) Formative Assessment
2) Classroom Research
3) Student Engagement
4) Community Learning
5) Education Values and Values in Education
6) Education in the 21st Century
7) Communication and Meaning
8) Challenges and Innovations in Language Teaching and Learning
9) Flipped Classrooms

รูปแบบการจัดงานประชุมวิชาการ
1) ปาฐกถาพิเศษ/บรรยายพิเศษจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
2) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเรียนรู้เชิงรุก
3) การนำเสนอผลงานวิชาการในรูปแบบนำเสนอด้วยวาจา (Oral Presentation) และแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation)

การส่งผลงานวิจัยหรือผลงานวิชาการ (Abstract and Full Paper) ผู้นำเสนอบทความวิจัยหรือบทความวิชาการในรูปแบบบรรยายและแบบโปสเตอร์ โดยมีรายละเอียดดังนี้
ผู้นำเสนอบทความสามารถเลือกส่งผลงานวิจัยได้ทั้งในรูปแบบบทคัดย่อ (Abstract) และในรูปแบบ
บทความฉบับเต็ม (Full Paper)
บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับเต็ม (Full Paper) ที่แก้ไขตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิแนะนำจะถูกรวบรวมเป็นรายงานการประชุมฉบับสมบูรณ์ (Proceedings) ในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการจะได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ (Journal of Learning Innovations Walailak University)ผู้เสนอบทความวิจัยหรือบทความวิชาการสามารถส่งผลงานในรูปแบบของภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อนำเสนอด้วยวาจา (Oral Presentation) หรือโปสเตอร์ (Poster Presentation) โดยผู้นำเสนอต้องจัดทำรูปแบบเอกสาร โดย download เอกสารได้ที่ http://alcwu.com โดยใช้เวลาในการนำเสนอด้วยวาจา 20 นาที (นำเสนอ 15 นาที และตอบข้อซักถาม 5 นาที)
การนำเสนอด้วยโปสเตอร์อยู่ในช่วงเวลาที่กำหนดโดยขอให้ผู้นำเสนอประจำที่โปสเตอร์ของตนเองในเวลาดังกล่าวเพื่อนำเสนอและตอบข้อซักถามการพิจารณาบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ จะได้รับการพิจารณากลั่นกรองและประเมินคุณภาพทางวิชาการ (Peer Reviews) จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนไม่ต่ำกว่า 2 ท่าน/บทความ
การนำเสนอบทความวิจัยหรือบทความวิชาการจะมีการมอบรางวัลการนำเสนอแบบบรรยายดีเด่น และการนำเสนอโปสเตอร์ดีเด่น โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะเป็นผู้พิจารณารางวัล

ลงะเทียนเข้าร่วม/ส่งผลงาน ได้ที่เว็บไซต์ http://alcwu.com




[1177] [15 พ.ย. 2560]

Top